แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ทัศพล ลุสีดา
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 173 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสภาพที่เป็นจริง ในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.78) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพสมรรถนะตามสภาพที่                พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.95) และ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย ตามความต้องการจำเป็น ภาพรวม พบว่า ค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.280 ถึง 0.335 ความต้องการจำเป็นด้านที่พบว่า มีค่า PNIModified สูงสุด 3 ด้านอันดับแรก คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ลำดับที่ 2 คือ การบริหารความเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 3 คือ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารมีความเป็นเอกภาพในการบริหารงานให้เกิดแก่องค์กร และไม่อยู่ภายใต้อำนาจของนักการเมืองท้องถิ่น ผู้บริหารมีความสามารถในการกำกับติดตาม  การดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ ผู้บริหารได้เปิดโอกาสหรือใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา และเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565). กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ธนัสสรณ์ พลอยทับทิม. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

พระราชบัญญัติครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 52 ก หน้า 1-29 (11 มิถุนายน 2546).

วศิน โกมุท. (2560). การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเพิ่มโอกาสการศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการ) วิทยาลัยสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกุณา ปั้นทอง. (2562). รูปแบบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York : Mc–Graw Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.