กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียน

Main Article Content

สุทิศ สวัสดี

บทคัดย่อ

การเลือกสถานศึกษาเป็นวิถีทางหนึ่งของผู้ปกครองที่จะทำให้บุตรหลานศึกษาเรียนรู้วิชาการ     ต่าง ๆ และยังเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้สถานศึกษาต้องปรับตัวให้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก และสถานศึกษาเป็นที่คาดหวังของผู้ปกครองที่จะส่งให้บุตรหลานมาศึกษาหาความรู้ความสามารถในโลกแห่งการแข่งขันหรือโลกของการเรียนรู้ การกำหนดกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร การตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญของสถานศึกษา และยังเป็นความคาดหวังของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจน เมื่อบุตรหลานเข้ามาศึกษาแล้ว ย่อมได้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เข้ามาเรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทย ดังนั้น สถานศึกษาเองต้องมีกลยุทธ์การบริหารจัดการ เช่น รูปแบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยเหตุนี้ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงผลงานการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา เพราะเป็นการชี้นำแนวทางการบริหารที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ชัดเจนในสถานการณ์ที่เหมาะสมกับพันธกิจที่วางไว้ในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้ปกครองตัดสินใจเลือกนำบุตรหลานเข้าไปศึกษาตามที่ต้องการ และสามารถเข้าไปศึกษาหาข้อมูลสถานศึกษาได้เอง เช่น สื่อสารสนเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้แก่ เว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน และ Facebook Page ของสถานศึกษาที่สามารถส่งเสริมกิจกรรมเสริมและข่าวสารสำคัญของสถานศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และมาใช้ในการสร้างจุดสนใจให้กับผู้ปกครองในการตัดสินใจเลือกสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จงพิศ ศิริรัตน์. (2550). การจัดการกลยุทธ์. สงขลา : โรงพิมพ์จอยพริ้น.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน).

ไตรทิพย์ ทิพย์สอน. (2548). ยุทธศาสตร์เชิงรุกของโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ และคณะ. (2546). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมลพรรณ ดุษิยามี. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ริชาร์ด ลึค และ เดวิด เจ คอลิช. (2551). Creating and Implementing Strategy. แปลโดย จักร ติงศภัทิย์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอฟทีฟ พริ้น.

วนิดา แสงสารพันธ์ และคณะ. (2552). โครงการศึกษากฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ. รายงานการวิจัย, ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที. ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

วิลาวัลย์ สุทธิธรรมรัตน์. (2549). กลยุทธ์การตลาดในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนในเขตจังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2565). การจัดการเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. เรียกใช้เมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2565. จาก https://www.botlc.or.th/item/book/01000028946.

สราวรรณ์ เรืองกัลป์ปวงศ์ และคณะ. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนิวัช แก้วจำนง. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สงขลา : บริษัทนำศิลป์โฆษณา.