แนวทางการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ศราวุฒิ อินดา
วันทนา อมตาริยกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย                  2) หาแนวทางการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา การวิจัยเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 341 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ แบ่งตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2) การหาแนวทางการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้างสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาและยืนยันแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งความสุขอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การหาแนวทางการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ควรมีการกำหนดเป้าหมาย วางแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มอบหมายภาระงานให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคล เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม                     เป็นแบบอย่างให้แก่บุคลากร สร้างบรรยากาศที่ทำงานให้น่าอยู่ ส่งเสริมการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ปรึกษา ให้คำแนะนำเรื่องการใช้ชีวิต ให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัวของบุคลากรให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีการวางแผนการใช้จ่ายและแสวงหารายได้ด้วยการประกอบอาชีพเสริม ใช้ชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). TDRI New Normal ของการศึกษาไทย คืออะไร เมื่อเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education.

นภัชชล รอดเที่ยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ใน วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พนัส พฤกษ์สุนันท์. (2542). องค์ประกอบของสาธารณสุขมูลฐานและองค์ประกอบของเมืองน่าอยู่. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิกุล พุ่มช้าง. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา: การวิเคราะห์โมเดลเปรียบเทียบการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งนภา ชุณหวรวรชัย. (2556). แนวทางในการพัฒนาสู่องค์กรแห่งความสุข “คึกฤทธิ์ อาร์คเทค”. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อักษรพิพัฒน์.

สมคิด ปิ่นทอง. (2556). รูปแบบการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นองค์กรแห่งความสุข. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ.กรุงเทพมหานคร : แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน.

โอภาส พุทธเจริญ. (2563). COVID-19: พลิกมุมคิดวิกฤตหรือโอกาส. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2563

จาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Covid-19-cover-story

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608-610.