ปัญหาทางกฎหมายในการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตและการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ถูกกลั่นแกล้งผ่านไซเบอร์

Main Article Content

อุษณีย์ ตันสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และการคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตควบคุมได้ยาก จึงต้องมีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล ซึ่งการเข้างานอินเทอร์เน็ตหากมีกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่เคร่งครัดมากเกินไป ก็จะกลายเป็นอุปสรรค แต่หากกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขทางกฎหมายที่มีอยู่ขาดความชัดเจน ไม่มีความครอบคลุม อีกทั้งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็สามารถเป็นช่องว่างให้มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถเข้าถึงช่องทางในการติดต่อสื่อสารทางระบบอินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง จึงอาจก่อให้เกิดกรณีการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ขึ้น เพราะเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับการปกป้องดูแลมากกว่าคนทั่วไป เพราะความสามารถของสภาวะร่างกายและสติปัญญาของเด็กอาจจะไม่เท่าเทียมกับผู้ใหญ่ จึงต้องมีกลไกพิเศษกว่ากรณีบุคคลทั่วไป


การศึกษาพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ยังไม่ครอบคลุมถึงเนื้อหาการกลั่นแกล้งผ่านทางไซเบอร์ต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงมีช่องว่างในการนำมาบังคับใช้ จึงทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ที่จะต้องศึกษาปัญหาทางกฎหมาย เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงเกี่ยวกับกำกับดูแลเกี่ยวกับผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ในการแจ้งเตือน เพื่อปิดกั้นหรือลบเนื้อหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่ถูกกลั่นแกล้งผ่านไซเบอร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิดสถิติคนไทยเสพติดออนไลน์โซเชียลสูงติดอันดับโลก. เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/950958.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2556). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

ธันยากร ตุดเกื้อ และมาลี สบายยิ่ง. (2560). รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีการจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 220-236.

วนิดา แสงสารพันธ์. (2560). กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. (2555). การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศาลยุติธรรม.

สราวุธ ปิติยาศักดิ์. (2555). กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

สาวตรี สุขศรี. (2561). อาชญากรรมความรุนแรง บนอินเทอร์เน็ต. วารสารนิติศาสตร์, 42(2), 291-292.

สาวตรี สุขศรี. (2563). กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ferguson. (2021). Differences and Similarities Between Abuse,Bullying and Harassment.เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2564 จาก http://www.netplaces.co/dealing.

Thainetizen. (2564). รู้จักหลักการ “Notice and Notice” สำหรับการกำกับเนื้อหาออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2564 จาก https://thainetizen.orgnotice-and-notice-content-regulation.