สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในปัจจุบัน แม้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แต่ยังไม่สามารถจะยุติปัญหาได้เท่าที่ควร และยังมีจำนวนผู้เสพเพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่กระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 3) เพื่อค้นหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงพรรณนาประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พบว่า สถานที่บำบัดไม่เหมาะสม ไม่เฉพาะเจาะจงในการรักษา ประกอบกับกำลังพลที่มีจำนวนจำกัด ทำให้ภาระงานมากเกินไป และสมรรถนะของบุคลากรไม่ตรงกับลักษณะงาน ทำให้การปฏิบัติงานไม่เต็มศักยภาพ ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฟื้นฟู พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มีแนวโน้มกลับไปเสพซ้ำได้ ปัจจัยด้านขั้นตอนที่มีระยะเวลาจำกัด แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 1 พบว่า ต้องส่งเสริมให้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่หรือสภาพสังคมใหม่ ที่ให้โอกาสและมีการเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรให้ตรงกับลักษณะงาน และสนับสนุนนโยบายด้านการสร้างอาชีพ รวมทั้งการปรับปรุงกระบวนการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3),177-182.
กรมคุมประพฤติ. (2549). คู่ มือการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงยุติธรรม.
ฉลองชัย บุญโรจน์, นิรานาท แสนสาและจิรสุข สุขสวัสดิ์. (2562). ประสบการณ์ทางด้านจิตใจในการทำงานอย่างมีความสุขของพนักงานบริษัทในองค์กรแห่งหนึ่ง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9 The 9th STOU National Research Conference.ครั้งที่ 9, 659-670.
นิตยา ฤทธิ์ศรี, ศุภลักษณ์ จันหาญ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(1),61-65.
ระบบสารสนเทศกรมคุมประพฤติ. (2564). ปริมาณคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในปี 2563 ของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร1. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 จากhttps://dopis.probation.go.th:8181/main/Login_input.do.
สัญญา จตุหงษ์. (2559). ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเสพยาเสพติดซ้ำของผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด: กรณีศึกษาสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). ป.ป.ส. สรุปผลงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติด 9 เดือน. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2565 จาก https://shorturl.asia/86B5x.