การสร้างแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หาคุณภาพของแบบวัด ตรวจสอบองค์ประกอบเชิงโครงสร้างแบบวัด หาเกณฑ์ปกติของแบบวัด และเพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการแกปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบปรนัย สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.60 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้ค่าดัชนี GFI เท่ากับ 0.969 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 0.997 ค่าดัชนี RMR เท่ากับ 0.008 ค่าดัชนี NFI เท่ากับ 0.976 ส่วนความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง มีค่าเท่ากับ 0.970 และค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่ถูกสกัด มีค่าเท่ากับ 0.470 แสดงว่า แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และเกณฑ์ปกติของแบบวัดมีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T35 - T65 โดยคะแนนมาตรฐานทีปกติ T50 อยู่ที่คะแนนดิบ 19 คะแนน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพล แย้มสะอาด. (2551). การศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เตือนใจ เกตุษา, สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2551). การประเมินผลการศึกษา = Educational evaluation. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นัฐพร ตื้อจันตา. (2552). การสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปราณี หลําเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วาสนา ไกรแก้ว. (2556). การสร้างแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิธร เวียงอินทร์. (2547). การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร.
อรรจนีย์ ชูช่วยสุวรรณ. (2552). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.