การศึกษาและเปรียบเทียบองค์ประกอบในสถานีบริการน้ำมันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วีระพจน์ วงษ์วัฒนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบองค์ประกอบในสถานีบริการน้ำมันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบสถานีบริการน้ำมันในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์ของผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันในการพัฒนาสถานีบริการน้ำมันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่ใช้บริการสถานีบริการน้ำมันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน และการสกัดองค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก เทคนิคย่อย Principle Component Analysis, PCA และหมุนแกนแบบ Promax


         ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบในสถานีบริการน้ำมันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการโดยมี 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ศูนย์ให้บริการและความสะดวกภายในสถานีบริการ 2) ศูนย์บริการอาหารและของฝาก 3) ศูนย์ให้บริการธุรกรรมและขนส่ง 4) ความเป็นสถานีบริการน้ำมัน 5) สถานที่สูบบุหรี่ 6) ร้านกาแฟ ผลการพัฒนารูปแบบสถานีบริการน้ำมันในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคคาดหวังองค์ประกอบขั้นต่ำภายในสถานีบริการน้ำมัน ดังต่อไปนี้ ความเป็นสถานีบริการน้ำมัน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ คือสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังให้มีในสถานีบริการน้ำมันเพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันได้ ผลการศึกษากลยุทธ์ของผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค พบว่า ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันส่วนใหญ่ตระหนักถึงความต้องการของผู้บริโภค จึงมีกลยุทธ์ในการที่จะเพิ่มธุรกิจ Non-Oil เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมธุรกิจพลังงาน. (2562). ข้อมูลสถิติ. ข้อมูลสถานีบริการ 2558-2562. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://www.doeb.go.th/2017/#/article/statistic

กระทรวงพลังงาน. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2557). Price Structure of Petroleum Product. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://1th.me/DQsZm

เลิศพงศ์ ลาภชีวะสิทธิ์. (2558). โอกาสและการปรับตัวของธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในภาวะราคาน้ำมันตกต่ำ. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2564 จาก https://1th.me/kc5we

ศูนย์ข่าวพลังงาน. (2562). โออาร์ ทิ้งห่างเอสโซ่ครองแชมป์ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันสูงสุด 8 เดือนแรก ปี 62. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2564 จาก https://1th.me/46Vsx.

สุภมาส อังสุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Napphakkhamon Thammananthakul. (2561). มาศึกษาธุรกิจของ PTTOR กันเถอะ. เรียกใช้เมื่อ20 ตุลาคม 2562 จาก https://1th.me/VG9pH.