ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานร่วมกันของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี จำนวน 16 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนน้ำโสมประชาสรรค์ (ถิรธัมโมอุปถัมภ์) จังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันของเด็กปฐมวัย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย (Sign Test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบมีความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการทำงานร่วมกันหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .26 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการเป็นสมาชิกของกลุ่ม มีความสามารถในการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .32 และด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม มีความสามารถในการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .26
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กมล โพธิ์เย็น. (2562). ความคิดสร้างสรรค์: พรสวรรค์ที่ครูควรสรรค์สร้างให้ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 9-27.
คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จำเนียร ภูละอินทร์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ชมพูนุช สุขเกษม. (2554). ผลการจัดประสบการณ์การปั้นเป็นกลุ่มที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. (2560). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วารสารแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 16(1), 145-157.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: นิชิน แอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ฟ.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). 14 วิธีสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: เซ็นทรัลเอ็กเพลส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพาภรณ์ จันทสังข์. (2555). ผลการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงทพมหานคร: แม็ค.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วาทินี บรรจง. (2556). ผลของการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาวรรณ พิมพ์สอน. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเล่นทรายที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนชุมชนบ้านโคกล่าม จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สงกรานต์ อนุสุเรนทร์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินกระดาษที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนภูเรือ จังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลื่องเชียง.
อรชุมา เพชรนาถ. (2556). การพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อาภรณ์ สุดใจ. (2555). การพัฒนาพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่ โรงเรียนชุมชนชวนวิทยา จังหวัดชัยภูมิ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อารี พันธ์มณี. (2552). หน่วยที่ 9 การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านความคิดสร้างสรรค์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Burnette, C. (2005). Idesign-seven ways of design thinking: A teaching resource. Retrieved October 10, 2020, from http://www.idesignthinking.com.
Guilford J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: Mcgraw-Hill.
Torrance, E.P. (1962). Guiding Creative Talent. Englewood Cliff. New Jersey: Prentice Hall
UNESCO-UNEP. (1983). Glossary of environmental education terms. Paris: UNESCO.