แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

กัญญาลักษณ์ ชีพอุบัติ
ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรม 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรม 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยระเบียบวิธีเชิงปริมาณ และระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริหารสถานศึกษา      ปีการศึกษา 2563 จำนวน 242 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .977 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นอยู่ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่คาดหวังของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านที่ 5 ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรมมีค่า (PNImodified = 0.286) ลำดับที่ 2 ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในองค์การมีค่า (PNImodified = 0.236) ลำดับที่ 3 ด้านที่ 4 ด้านการสนับสนุนทรัพยากรมีค่า (PNImodified = 0.211) ลำดับที่ 4 ด้านที่ 2 ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร มีค่า (PNImodified = 0.152) ส่วนข้อที่มีค่า PNImodified น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านที่1 ด้านการเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีค่า (PNImodified = 0.122) 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทางทั้งหมด 23 แนวทางแนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

นมกร มังคละศิริ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

บุตรี จารุโรจน์. (2550). ภาวะผู้นำและการพัฒนาทีมงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระสกล ฐานธัมโม (อินทร์คล้าย). (2556). การบริหารสถานศึกษาตามธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตาม แนวคิด Geert Hofstede. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(47), 223-240.

พิริยะ กรุณา. (2560). การบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนา. ใน การประชุมวิชาการการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ” GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, 325-361.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2556). ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วีระศักดิ์ พัทบุรี. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารความขัดแย้งสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันราชประชาสมาสัย. (2549). ธรรมาภิบาลบันดาลสุข. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.

สมาน อัศวภูมิ. (2549). การบริหารงานในสถานศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ. เชียงราย : สถาบันราชภัฏเชียงราย.

อนันท์ งามสะอาด. (2551). ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effective) ต่างกันอย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2563 จาก https://thaiwinner.com/efficiency-effectiveness/.

อะห์มัด ยี่สุ่นทรง. (2559). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 12(1), 1-15.

เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2552). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม : การทบทวนแนวคิดทฤษฎี และการปฏิบัติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปัตตานี, 20(1), 1-16.

Adler, M. A. (2008). Gender difference in job autonomy : The consequences of occupationalsegregation and authority. Sociological Quartery, 34(3), 449.

Bordas, J. (2009). White men and women can’t lead (everyone) : Eight ways to practicemulticultural age. Public Management, 91(1), 3-6.

Canen, A., & Canen, A. (2008). Multicultural leadership : The costs of its absence in organizational conflict management. International Journal of Conflict Management, 19(1), 4-19.

Morote, E. (2010). A reliable survey to measure teachers’ multiple awareness to their school environment. The Journal of Multicultural Education, 5(1), 1-13.

Yeung, A. Lee, Y., Yue, K. W. R. (2006). Multicultural leadership for a sustainable total school environment. Education Research Policy Practice, 5, 121-131. Enterprise, pp. 275-294. Wesport, CN : Praeger.