ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 245 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการสร้างบรรยากาศองค์การนวัตกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตำแหน่งครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การนำเสนอผลลัพธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนตำแหน่งครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การนำเสนอผลลัพธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีความสัมพันธ์กัน 4) สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อหลักการบริหารตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เป็นดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา : สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Ŷ = 1.110 + .167(X2) + .172(X1) + .177(X3) + .167(X6) + .169(X4) + .168(X5)
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = .386(X2) + .465(X1) + .324(X3) + .388(X6) + .218(X4) + .182(X5)
ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ : สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Ŷ = 1.638 + .059(X2) + .259(X4) + .197(X3) + .121(X1)
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = .094(X2) + .386(X4) + .284(X3) + .168(X1)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
เกรียงไกร ทานะเวช. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัทรจิต ดิลกเดชาพล. (2560). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ในโรงเรียนขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา จังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2561). กระตุกต่อมคิด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สรุปผลการประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ด้านการศึกษา ครั้งที่ 7: สะเต็มศึกษา วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2) , 118-119.
อัญชลี ลัดดาแย้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของครู สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.