แนวทางการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผล
ของสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา
และครู จำนวน 302 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.971 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่เป็นจริงของการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านการตรวจสอบภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด สภาพที่พึงประสงค์ของ
การบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้าน
การตรวจสอบภายใน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา ภาพรวม มีค่า PNIModified เท่ากับ 0.053 โดยลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด ด้านการคำนวณต้นทุนของกิจกรรม มีค่า PNIModified เท่ากับ 0.063 รองลงมาคือ ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มีค่า PNIModified เท่ากับ 0.059 แนวทางการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาระเบียบวิธีปฏิบัติการบริหารงบประมาณ ตลอดจนการตั้งแผนงบประมาณประจำปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการในแต่ละปีการศึกษา ควรวางแผนงบประมาณประจำปีให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนาคุณภาพประจำปี ตลอดจนมีการวางแผนงบประมาณทั้งในระยะยาว และระยะสั้น และควรรายงานการใช้เงินต่อหน่วยงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด รายงานแผนการใช้เงินงบประมาณทั้งเงินอุดหนุนและเงินสถานศึกษา เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กมลวรรณ เชาว์ช่างเหล็ก. (2561). แนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม. รายงานศึกษาส่วนบุคคล การพัฒนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ธิดารัตน์ คงบุญ. (2554). ปัญหาและแนวทางการบริหารงบประมาณ ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : ข้าวฟ้าง.
ผดุงศรี โยคิน. (2565). ข้าราชการครูโรงเรียนชุมชนบ้านถ่อน [บทสัมภาษณ์].
พัชรินทร์ ยืนนาน. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระพงษ์ ก้านกิ่ง. (2560). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2564). รายงานประเมินตนเอง 2563. หนองคาย : แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพมหานคร.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610
Tham Sai Choy. (2018). Powering Up Internal Audit for the Future. The Institute of Internal Auditors (IIA) International Conference 2018. Run on December 22, 2021 to https://www.theiia.org/en