แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม ค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติงานตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 2.66) ส่วนค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า อยู่ในระดับ มาก ( = 4.45) และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 3 ด้าน มีค่า (PNIModified) อยู่ระหว่าง 0.082 – 1.727 ซึ่งอันดับ
ที่ 1 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ อันดับที่ 2 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ อันดับที่ 3 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดและ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารควรดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ 1) ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองให้มีองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ 2) ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) ส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม มีกิจกรรมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับครู พร้อมทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และ
รับฟังคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงาน 4) ส่งเสริมให้ครูสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานผลการศึกษาตัวชี้วัด ICT ด้านการศึกษาในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการปีการศึกษา 2557. เรียกใช้เมื่อ 2
พฤศจิกายน 2563, จาก http ://www.moc.moe.go.th/upload-cms/files/ICT(7).pdf.
ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2560). Growth Mindset กับการปฏิรูปการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 20
มิถุนายน 2564, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/moe/th/news/detail.php?
NewsID=48109&Key=news_act
บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นาเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พฤทธิ์พล ชารี. (2556). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา
สหวิทยาเขตเวียงเรื่อคำสั่งกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน รายงาน
การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พวงรัตน์ เกษรแพทย์ . (2545). การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิชิต โคตรมา. (2551). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ
การศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์. (2556). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานครูไทย สอนหนัก ขาดจิตวิญญาณ ไร้
ทักษะ ICT. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.enn.co.th/5942.
ศักดา ทัดสา. (2564). กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับ
โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
และพัฒนาคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุภางค์ จันทวานิช (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุริยานนน์ พลสิม. (2556). ไอซีทีกับสังคมแห่งการเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/555573.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศร ก้อนคำ. (2563). กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสาสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยาพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
และพัฒนาคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
อุทัย แดนพันธ์. (2557). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหาร
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.