การพัฒนาทักษะของผู้เรียนอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการทำงาน ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการทำงานในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอาชีวศึกษา การศึกษาได้ดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาในปัจจุบัน และเสนอรูปแบบและแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะอาชีวศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณได้จากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาด้านวิชาชีพจำนวน 430 ท่าน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ ในสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ จำนวน 13 ท่าน การสนทนากลุ่มร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะที่มีความสำคัญของผู้เรียน เพื่อที่จะต้องออกไปสู่โลกของการทำงานในตลาดแรงงาน ต้องได้รับการพัฒนาและปรับเปลี่ยน เนื่องจากผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือในปัจจุบันใช้คำว่า Disruptive Technology จากการศึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาในส่วนของการพัฒนาทักษะของผู้เรียน ดังนี้ 1) ทักษะด้านการบูรณาการเทคโนโลยี เช่น การรู้ดิจิตอล การตลาดดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดองค์ความรู้หรือแนวคิด การผสมผสานปรัชญา วัฒนธรรม ความเชื่อ การจัดการอุปกรณ์ Mobile device และข้อมูลการทำงานของเทคโนโลยีที่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนกับสมองของมนุษย์ AI 2) ทักษะด้าน Soft skills เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการสื่อสารในเรื่องที่ซับซ้อน ความสร้างสรรค์ ความร่วมมือร่วมใจ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1), 1–3.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2559). เมื่อ Thailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Thailand 2.0. เรียกใช้เมื่อ 31 ตุลาคม 2564 จาก https://bit.ly/3pZD6MH
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2560). อาชีวศึกษากับประเทศไทย 4.0. วารสารอาชีวะก้าวไกล , ปีที่ 3 ฉบับ 2 มีนาคม–เมษายน พ.ศ.2560.
พลธาวิน วัชรทรธำรง. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ TALENTER Model ของโรงเรียนวอนนภาศัพท์ จังหวัดชลบุรี. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2564 จาก https://bit.ly/3EzYtbF.