การประเมินผลการดำเนินโครงการของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย พ.ศ. 2563 แนวทางที่ 4 พัฒนาระบบและกลไกการดูแลสุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ

Main Article Content

อุบลวรรณ นิยมจันทร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย พ.ศ. 2563 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดการประเมิน CIPP Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต โดยทำการรวบรวมเอกสาร 5 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพคนไทยกลุ่มวัยผู้สูงอายุ 2) โครงการสร้างสังคมห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย             3) โครงการสร้างสังคม ห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ 4) โครงการผลักดันการนำนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุไปใช้ประโยชน์ และ 5) โครงการสร้างเสริมระบบการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการ


ผลการประเมินพบว่า ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต มีความสอดคล้องและผ่านเกณฑ์ประเมินตามเป้าหมายของมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งผลการประเมินด้านวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับนโยบายและสถานการณ์ปัจจุบัน มีปัจจัยนำเข้าที่พร้อมสนับสนุน ได้แก่ บุคลากรและทรัพยากร มีกระบวนการและขั้นตอนของเตรียมความพร้อม และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีกระบวนการติดตามประเมินผลที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งการประเมินผลการเบิกจ่ายงบประมาณตามเป้าหมาย สำหรับกรณีที่ไม่เป็นไปตามแผน เสนอให้ทุกโครงการของกระทรวงสาธารณสุขที่เกิดความล่าช้า วางแผนเร่งรัดการดำเนินงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และหากโครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ควรพิจารณาโอนเงินงบประมาณให้โครงการอื่นที่มีความจำเป็นแทน เพื่อให้งบประมาณประจำปีที่ได้รับจัดสรรเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสุขภาพและประชาชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.).

กาญจนา วัธนสุนทร. (2550). การออกแบบวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดล ในแนวการศึกษาชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

ณัฐวรรณ แย้มละมัย และสุณี หงส์วิเศษ. (2561). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3) 17-25.

วสิน เทียนกิ่งแก้ว. (2554). การประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดกระบี่. กระบี่ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2556). การประเมินโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, นัชชา พรหมพันใจ, บุษบัน เชื้ออินทร์. (2562). การประเมินประสิทธิผลการพัฒนาสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อนในพื้นที่ 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 12(1). 44-55.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). โครงการภายใต้แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 แนวทางที่ 4 พัฒนาระบบและกลไกการดูแลสุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคมของผู้สูงอายุ. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำงบประมาณการเตรียมแผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2558). การติดตามประเมินผลการบูรณาการเครือข่ายเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 17(2). 69-86.

Stufflebeam, Daniel L. and Shinkfield, Anthony J. (2007). Evaluation Theory, Models, & Application. San Francisco : John Wilwy.