ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นโรงเรียนคุณภาพในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.931 ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การตัดสินใจร่วม 2) ระดับการเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณภาพนักเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษากับโรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ความผูกพันต่อโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับโรงเรียนคุณภาพอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่า ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านความผูกพันต่อโรงเรียน ด้านวิสัยทัศน์ร่วม และด้านความไว้วางใจ สามารถพยากรณ์โรงเรียนคุณภาพร้อยละ 64.4 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ปารณีย์ สุทธิประภา. (2562). ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วุฒินัย วังหอม. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(3), 422-436.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. (2562). ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2562 จาก https://www.sesaobk.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. เรียกใช้เมื่อ 26 กันยายน 2563 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
Bennet, D. (2010). Collaborative Leadership : The Role of Leadership in an ICAS Organization. Retrieved October 5, 2020 from http://www.mountain questinstitute.com/Collaborative%20Leadership%2010-19-06.pdf.
Hinrichs. (2007). Education Administration: Theory, Research and Practice. 7thed. New York : McGraw-Hill.
Jerry D.Van Vactor. (2012). Collaborative leadership model in the management of health care. Journal of Business Research, 65(4).
Kotter, J. P. (2006). “Leadership versus management: What’s the difference?”. J. Qual. Participation, 29(2), 13–17.
Ogawa and Bossert. (1995). Leadership as an Organizational Quality. Educational Administration Quarterly, 31(2), 224-243.
Yamane, Taro. (1970). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.
Yukl, G. (2002). Leadership in Organizations. 6rd ed. New York : Pearson Prentice Hall.