แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1

Main Article Content

ชญานิศ อินทะวงศ์ โรเบิร์ตสัน
วัลลภา อารีรัตน์
ปาริชาต ทุมนันท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 320 คน      โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.31) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.54) รองลงมาคือด้านการทำงานเป็นทีม ( gif.latex?\bar{x}= 3.43) และด้านการพัฒนาวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (gif.latex?\bar{x} = 3.10) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.86) ด้านการพัฒนาวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.94) รองลงมาคือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (gif.latex?\bar{x} = 4.88) และด้านการสร้างเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (gif.latex?\bar{x} = 4.79) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ภาพรวม พบว่า ค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.379 ถึง 0.594 ความต้องการจำเป็นที่พบว่า มีค่า PNIModified สูงสุด มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 คือด้านการพัฒนาวิชาชีพ (PNIModified =0.594) ลำดับที่ 2 คือ  ด้านการปรับตัว (PNIModified =0.494) ลำดับที่ 3 คือ ด้านการสร้างเครือข่าย (PNIModified =0.483)  ลำดับที่ 4 คือ ด้านการทำงานเป็นทีม (PNIModified =0.402) และลำดับที่ 5 คือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PNIModified =0.379) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562. เรื่อง นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กวีศุภ ณิฐวิกรมวยากรม์. (2556). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : หนึ่งในจุดสำคัญเพื่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 จาก http://journal.rmutto.ac.th.

ตรียพล โฉมไสว. (2562). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยองกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปาริชาต ทุมนันท์. (27 เมษายน 2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบเสริมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (ชญานิศ อินทะวงศ์ โรเบิร์ตสัน, ผู้สัมภาษณ์).

นครินทร์ อิ่มสวาสดิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(1), 83-93.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิพล พหลทัพ. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำประสานพลังของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 139-148.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2560). แนวคิดภาวะผู้นำแบบควันตัม. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 จาก http://suthep.cru.in.th.

สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hegel, et al. (2003). Efficacy of acupuncture for the treatment of primary dysmenorrheal. Gynacology, 43(4), 250 -253.