SUBJECTIVITY: การแสวงหาความรู้และความจริงในฐานะกระบวนทัศน์ และวิธีวิทยาในการวิจัยภาคสนาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การแสวงหาความรู้และความจริงในฐานะกระบวนทัศน์และวิธีวิทยาในการวิจัยภาคสนามผ่านวิธีการศึกษาแบบ Subjectivity นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อศึกษาพัฒนาการของแนวคิดและระเบียบวิธีการแสวงหาความรู้แบบปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม โดยเฉพาะการทำความเข้าใจกับแนวคิดการศึกษาแบบ subjectivity ที่ถูกพัฒนาและนำมาใช้กับการศึกษาในงานวิจัยภาคสนามเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เนื่องจากปรัชญาและกระบวนทัศน์การวิจัย ระหว่างแนวคิดปฏิฐานนิยมและแนวคิดธรรมชาตินิยมนั้น มีข้อโต้แย้งหรือมีวิวาทะกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีจุดยืนอยู่กันคนละฟากฟ้าของชุดความรู้ในการแสวงหาความรู้หรือความจริงทางสังคมศาสตร์ ในบทความชิ้นนี้ ต้องการนำเสนอให้เห็นพัฒนาการและฐานความรู้ของทั้งสองแนวคิด ผ่านวิธีการศึกษาแบบ objective และ subjective อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของบทความชิ้นนี้ มุ่งต้องการที่จะนำเสนอแนวคิดการศึกษาแบบ subjectivity เพื่อแสดงให้เห็นว่า กระบวนทัศน์และวิธีวิทยาในการศึกษาโลกทางสังคมนั้นมีความซับซ้อน เกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออกระหว่างตัวผู้ศึกษากับโลกหรือสิ่งที่ศึกษา เนื่องจากสังคมมนุษย์มีความสลับซับซ้อนเกี่ยวโยงกันดังกล่าว พฤติกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ล้วนมาจากแรงจูงใจ ค่านิยมและความเชื่อที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มคนและสังคม ทำให้ความหมายของพฤติกรรมหรือการกระทำทางสังคมก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น เครื่องมือที่สำคัญของการศึกษาคือการที่ผู้ศึกษาต้องเอาตัวเองเข้าไปเรียนรู้ปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจและตีความปรากฏการณ์ทางสังคมออกมา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พรินติ้ง.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). ภาษากับการเมือง/ความเป็นการเมือง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัตนา โตสกุล. (2555). เอกสารรวบรวมคำบรรยายรายวิชา การวิจัยภาคสนาม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Clifford, Geertz. (1973). Thick Description: Toward and Interpretive Theory of Culture.” In The Interpretation of Cultures. New York : Basic Books.
Clifford, James. (1986). Partial Truths” In Writing Culture : The Poetics and Politics of Ethnography. James Clifford and George Marcus : University of California Press.
Hammersley, Martyn and Paul Atkinson. (1991). “What is ethnography” in Ethongraphy: Principle in Practice. London & New York : Routledge.
Rosaldo, Renato. (1993). subjectivity in Social Analysis” In Culture and Truth. The Remaking of Social Analysis : Beacon Press.
Urry, James. (1984). A history of field methods” In Ethongraphic Research : A Guide to General Conduct. R.F. Ellen.
Wangle, John L. (1988). Trauma in the field: reflections on Malinowski fieldwork.” Ethnographers in the Field. Alabama : The University of Alabama Press.