แนวทางการพัฒนามาตรฐานธุรกิจร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม สู่มาตรฐานร้านอาหารระดับอาเซียน

Main Article Content

ธาวิษ ถนอมจิตศ์
ปิยะพงษ์ นาไชย
ศรัญญา นาไชย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพมาตรฐานของร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้มีมาตรฐานร้านอาหารระดับอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นการเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มธุรกิจร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม จำนวน 100 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า มาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว 8 องค์ประกอบของร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม อยู่ในระดับมาก ทั้ง 8 องค์ประกอบ ส่วนแนวทางการพัฒนาธุรกิจร้านอาหารไทยในอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ให้มีมาตรฐานร้านอาหารระดับอาเซียนนั้น        มีดังนี้ ด้านสถานที่ ร้านอาหารควรแยกห้องสุขาชาย–หญิง ให้มีมาตรฐานสากล ด้านอาหาร ควรจัดอบรมพนักงานในเรื่องหลักการจัดเก็บวัตถุดิบอย่างถูกวิธี ด้านกระบวนการ ควรจัดอบรมพนักงานในเรื่องหลักการบริการที่เป็นมาตรฐานสากล ด้านบุคลากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งบุคลากรที่มีความรู้ ไปให้ความรู้แก่พนักงานบริการด้านสุขาภิบาลอาหารและการบริการอย่างต่อเนื่อง ด้านภาชนะและอุปกรณ์ ควรเน้นให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานความสะอาดระดับสากล ด้านความปลอดภัย ควรจัดให้มีการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมต่อเหตุต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในร้านอาหาร ด้านการให้บริการนักท่องเที่ยว ควรจัดอบรมภาษาอังกฤษ ให้กับพนักงานบริการ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและสื่อสารกับลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติ ด้านตระหนัก รักษาและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นความสำคัญของการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสังคมและวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กนกกานต์ วีระกุลและคณะ. (2559). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารท้องถิ่น. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กรมการท่องเที่ยว. (2553). มาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ฉลองศรีพิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาศาสน์.

ปกรณ์ปรียากร. (2556). ความหมายของคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2562 จากhttp://www.gotoknow.org/posts/189885

ประภัสรา หงษ์มณีคำ. (2562). เสน่ห์อาหารไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุ๊ค.

โพส์ททูเดย์. (2558). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2562 จากhttps://www.posttoday.com/aec/news

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2559). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษา 2562 จากhttps://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report

วัชรกฤต แย้มโอฐ. (2555). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร : กรมการท่องเที่ยว.

ศรีสมร คุณากรบดินทร์และคณะ. (2559). ศักยภาพและความพร้อมของร้านอาหารพื้นเมืองสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2561). ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในจังหวัดนครพนม. นครพนม : สำนักพิมพ์อนุพันธ์.

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4 ปี. นครพนม : สำนักพิมพ์อนุพันธ์.