การบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารคุณภาพการศึกษาในการเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา จำนวน 17 โรงเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในโรงเรียน จำนวน 118 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Mogan และการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมมีผลการดำเนินการอยู่ในระดับ “มากที่สุด” ทุกด้าน เมื่อนำมาเรียงลำดับ พบว่า ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีระดับผลการดำเนินการสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านการนำองค์กร และด้านการมุ่งเน้นบุคลากร แนวทางการบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากลในด้านการนำองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้ อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารของโรงเรียนสาธิตโดยมาก มีวิสัยทัศน์ แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมของการนำองค์กร และสามารถนำโรงเรียนสู่การเป็นมาตรฐานสากลได้ โดยการส่งเสริม และกำกับให้มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักจริยธรรม และกฎหมาย รวมถึงยึดหลักธรรมาภิบาล ในการบริหาร และปฏิบัติตามจรรยาบรรณ วิชาชีพ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากร สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎหมายและจริยธรรม สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างศรัทธาเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อพัฒนาบุคลากรสู่การเป็นผู้นำของโรงเรียน การมุ่งเน้นการดำเนินการของโรงเรียนมีการจัดโครงสร้างการบริหารของโรงเรียนที่ความครอบคลุมภารกิจให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พ้อยท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พรรณวดี ปามุทา. (2559). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.
ไพทูรย์ สินลารัตน์. (2536). โรงเรียนสาธิต : จุดมุ่งหมาย บทบาท และทิศทาง. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภา อารีรัตน์. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาองค์การและการพัฒนาองค์การ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2539). การนำแนวคิด TQM มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา. วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน, 7(64), 56-61.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภาภรณ์ ธานี. (2553). กลยุทธ์การนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศของเทศบาลตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. ใน การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ ปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.