แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2

Main Article Content

สุริยา สรวงศิริ
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 311 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์


          ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู ในภาพรวมพบว่าค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.38) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.75) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ภาพรวมพบว่า เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน (PNIModified = 1.465) ลำดับที่ 2 คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (PNIModified = 1.330) และลำดับที่ 3 คือ ด้านการสร้างเครือข่ายเชิงนวัตกรรม (PNIModified = 0.472)        2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2  โดยรวมพบว่า (1) การจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมให้แก่ครู (2) พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้เชิงนวัตกรรมของครูอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และ (3) การจัดทำคู่มือแนวทางในการปฏิบัติงานให้แก่ครูเพื่อศึกษาเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง สำหรับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2563-2565). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา จันทะโยธา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2555). การวิจัยทางการศึกษา : วิจัยสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2559). อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560-2569). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 36-50.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2 ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565). อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : พิษณุโลกดอทคอม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allan, L. (2019). Leadership creativity and innovation: a meta-analytic review. European Journal of Work and Organizational Psychology, 29(1), 1-35.

Raechel, F. and Wesley, I. (2020). Case studies on the transition from traditional classrooms to innovative learning environments : Emerging strategies for success. Improving Schools: SAGE Journals, 23(2), 175–189.