การประเมินโครงการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยกระบวนการลูกเสือโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

ไพผกา ผิวดำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสอดคล้องของบริบทที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยกระบวนการลูกเสือของโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) 2) ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยกระบวนการลูกเสือของโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) 3) ประเมินความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ในโครงการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยกระบวนการลูกเสือของโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) 4) ประเมินผลผลิตจากการดำเนินโครงการพัฒนานักเรียน สู่ความเป็นพลเมืองที่ดี ด้วยกระบวนการลูกเสือของโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ กลุ่มตัวอย่างในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 316 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการประเมินพบว่า โครงการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองที่ดีด้วยกระบวนการลูกเสือ             ของโรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินเป็นอันดับแรก คือ ด้านผลผลิตของโครงการ รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านบริบทของโครงการ ตามลำดับ เนื่องจากใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและเข้าถึงธรรมชาติของเด็กและเยาวชนได้ดีที่สุด จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรีน ผุยปุโรย. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนโนนสีดาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ช่อลัดดา ติยะบุตร. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมจริยธรรมความมีวินัยในตนเองกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เยาวลักษณ์ เกสรเกศรา. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนโรงเรียนบ้านหมากหัววัง จังหวัดลำปาง. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก https://shorturl.asia/ibTzy.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุจิลา คติศิริกุญชร. (2557). รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม จังหวัดลำพูน. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/aKo7A.

สุพรรณิการ์ พงศ์ผาสุก. (2558). การบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Unesco. (2011). Unesco 2011. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2565 จาก https://citly.me/2N06x.