มาตรการทางกฎหมายในการออกใบอนุญาตและต่อใบอนุญาต ดูดทรายในแม่น้ำโขง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายในการออกใบอนุญาตให้ดูดทรายและปัญหาการต่อใบอนุญาตให้ดูดทรายในแม่น้ำโขง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการออกใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการออกใบอนุญาตให้ดูดทรายและการต่อใบอนุญาตให้ดูดทรายให้มีความชัดเจน รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากบทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารทางราชการ บันทึกการประชุม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการออกใบอนุญาตและต่อใบอนุญาตดูดทรายในแม่น้ำโขง มีปัญหาที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดูดทรายในแม่น้ำโขง ไม่มีมาตรการบังคับอย่างจริงจัง และไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน 2) กฎหมายลูกไม่ครอบคลุมทุกประเด็น มีการทับซ้อนกัน ทำให้การออกใบอนุญาตและต่อใบอนุญาตยุ่งยาก 3) การต่อใบอนุญาตใช้ระยะเวลานาน อีกทั้งใบอนุญาตแต่ละฉบับมีอายุและระยะเวลาในการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตไม่เท่ากัน ซึ่งสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการมากเกินควร จนทำให้เกิดปัญหาการไม่ต่ออายุใบอนุญาต ดังนั้น จึงเสนอให้มีการออกใบอนุญาตหลักใบเดียว โดยให้มีการจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนใบอนุญาตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้นำการดูดทรายเข้าในระบบศูนย์กลางให้ธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จ และให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทราย มีอำนาจอนุญาตให้ดูดทรายในแม่น้ำโขง รวมทั้งให้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). การประชุมคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วม ภายใต้คณะกรรมการร่วมไทย-ลาว เพื่อดูแลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง (JTMH) ครั้งที่ 4. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2560 จาก https://shorturl.asia/MwV4Q.
คำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก หน้า 14 - 15 (27 พฤศจิกายน 2562).
ชญานิศ เกิดจังหวัด. (2550). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการดูดทราย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุติมา ไกรฤกษ์โอฬาร. (2563). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบกิจการดูดทราย. ใน สารนิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประมวลกฎหมายที่ดิน. (2497). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 78 หน้า 14 (30 พฤศจิกายน 2497).
พระราชกฤษฎีกาการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 35 ก หน้า 33 - 36 (26 พฤษภาคม 2564).
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 . (2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม109 ตอนที่ 44 หน้า 21 23 และ 24 (9 เมษายน 2535).
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 . (2518). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 5 หน้า 14 (9 มกราคม 2518).
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 44 หน้า 66 (9 เมษายน 2535).
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 65 ง หน้า 9 - 23 (11 มิถุนายน 2535).
ศิรวดี งามวิเศษชัยกุล. (2563). กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้แม่น้ำโขง. นนทบุรี: ศููนย์์ศึึกษาการต่่างประเทศ กระทรวงการต่่างประเทศ กรุุงเทพมหานคร.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2560). รายงานการตรวจสอบการดูดทรายในที่ดินของรัฐ แม่น้ำโขง. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2560 จาก http://chanthaburi.go.th/files/com_news/2019-03_e015ed7254e451e.pdf.
อัครเดช มณีภาค,เอกพงษ์ สารน้อย. (2556). ปัญหามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจดูดทราย จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 19(36), 51 - 60.