มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอาหารส่วนเกินในประเทศไทย

Main Article Content

สุธิดา สัจจานุภาพ
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายที่ควบคุมอาหารส่วนเกินในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมอาหารส่วนเกินในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เอกสาร งานวิจัย บทความ ตลอดถึงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเครื่องมือในการศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า อาหารส่วนใหญ่ที่เหลือ ไม่ว่าจะมาจากร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือรวมไปถึงสินค้าอาหารที่ใกล้หมดอายุ ที่มีการกระจายสิ่งเหล่านี้ออกเป็นสัดส่วน เช่น การนำไปบริจาค การนำไปทำปุ๋ย หรือเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน และสุดท้ายนำไปทิ้ง ทำให้เกิดผลกระทบไปในด้านการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีการจัดระเบียบ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาควบคุมได้ชัดเจน การคำนวณอาหารส่วนเกิน อาหารขยะ ยังไม่มีระบุแน่ชัด แต่ทำได้เพียงอนุมานขึ้นมาจากข้อมูลขยะมูลฝอย จำแนกออกมาเป็นในส่วนของอาหาร ทำให้การจัดการมีน้อยมากและไม่ทั่วถึง แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะคือ 1) มีมาตรการทางกฎหมาย ให้มีการจัดตั้งศูนย์รวมการส่งมอบอาหารส่วนเกิน อาหารขยะ ให้เป็นจุดเดียวกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อกระจายให้ทั่วถึงของการดูแลและการทำประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด     2) ให้มีมาตรการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลจัดการปัญหาและเสนอทางแก้ไขทั้งสองฝ่าย 3) กำหนดมาตรการทางกฎหมายสำหรับผู้ที่จะเข้าร่วมในการส่งมอบอาหารส่วนเกิน อาหารขยะ จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ผลตอบแทนคือสิทธิลดหย่อนภาษี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. (2022). ขยะอาหาร (FOOD WASTE) ปัญหาที่ท้าทายมวลมนุษยชาติ. เรียกใช้เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://shorturl.asia/O04qs.

กรีนพีช. (2020). ขยะอาหาร : ปัญหาที่ถูกซ่อนในระบบอุตสาหกรรมอาหาร. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/qenky.

กุลธิดา บรรจงศิริ. (2018). แนวทางการจัดการอาหารที่ถูกทิ้ง. SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY, 4(1), 43-53.

ขวัญคณิศร์ อินทรตระกูล และณัฐฐา เพ็ญสุภา. (2020). การสูญเสียอาหารและขยะอาหารในประเทศไทยและแนวทางการแก้ปัญหา. วารสารเกษตรนเรศวร, 17(2), 6-9.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ. (2562). ศึกษาแนวทางบริหารจัดการอาหารส่วนเกินเพื่อลดปัญหาขยะที่เหมาะสมกับประเทศไทย, TDRIและ สสส. เรียกใช้เมื่อ 23 มิถุนายน2566 จาก https://tdri.or.th.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2015). มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย. JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT, 11(2), 76–89.

สำนักงานนโยบายและแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2021). 1 สิงหาคม 2564 ขยะอาหารทั่วโลกพุ่ง! ถูกทิ้งปีละกว่า 2.5 พันล้านตัน ซ้ำเติมภาวะโลกร้อน. เรียกใช้เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://shorturl.asia/jPNSd.

อรสุภาว์ สายเพชร และ ฆริกา คันธา. (2023). บทปริทัศน์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการขยะอาหาร. Suranaree J. Soc. Sci, 17(1), 1-18.