การประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา

Main Article Content

ดิเรก บวรสกุลเจริญ
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา 3) เสนอเป็นแนวทางในการนำเอาทรัพย์สินทางปัญญามาประกันภัยในการปรับใช้กับประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัย โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร


         ผลการวิจัยพบว่า การประกันทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสหราชอาณาจักร มีความสอดคล้องกันหลายประการ แต่ยังมีข้อกำหนดกฎหมายบางอย่างที่เป็นรายละเอียดอาจไม่เหมือนกัน เช่น การประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย กำหนดให้การฟ้องร้องต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือประเภทประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทยที่จะทำต้องเป็นประกันภัยประเภทประกันวินาศภัย ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร การทำประกันภัยในสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา สามารถทำได้เป็นการประกันภัยความรับผิดชอบ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร การทำประกันภัยทรัพย์สินทางปัญญา สามารถทำได้และมีรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัย ประเทศไทยในการเรียกค่าสินไหมทดแทน ต้องเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีส่วนได้เสียในขณะทำสัญญาประกันและขณะที่เกิดวินาศภัยด้วย ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร พิจารณาการมีส่วนได้เสียตอนที่ทำสัญญาประกันเท่านั้น การกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ผู้รับประกันภัย ต้องเป็นนิติบุคคล ในรูปแบบเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้การดูแลขององค์กรรัฐ คล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จุมพล ภิญโญสินวัฒน์. (2552). หลักเหตุผลของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติกาญจน์ นพคุณ. (2549). ปัญหาการทำประกันภัยเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา. ใน ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2560). ประวัติศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุธรรม หงศ์สำราญ, วิรัช ณ สงขลา และพึงใจ พึ่งพานิช. (2518). หลักการประกันวินาศภัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

Ewin R.S.Seligman and Avin Johnson. (1986). Encyclopedia of Social Sciences.

Francis T. Allen and Sidney l. Simon. (1968). Insurance : General Principles. New a Littlefield : Adams Press.

Guillen v. Potomac Ins. Co. of III. (2001). No. 1-00-2314, Ill. App. LEXIS 392. at *22.

Kathlenn Heald Ehttinger.Karen L.Hamilton and Gregory Krotim. (1995). State Insurance Regulation : Pennsylvania U.S.A.

Ronald C. Wanglin, Retrieved. (2003), Intellectual Property Insurance.Retrieved September 17 ,2006, from Bolton & Company web site http://www. Boltonce.com/uk/en/rik-management/ intellectual/property- insurance