มาตรการทางกฎหมายของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการ อำพรางล่อซื้อยาเสพติด

Main Article Content

วัชรินทร์ เหรียญหล่อ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการอำพรางล่อซื้อยาเสพติด โดยพิจารณาจาก 1) ปัญหาการขออนุญาตปฏิบัติการอำพราง 2) ปัญหาการปฏิบัติการอำพรางกรณีเร่งด่วน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมาย


ผลการวิจัยพบว่า กฎกระทรวงว่าด้วยการปฏิบัติการอำพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2555 มีปัญหา 1) การขออนุญาตปฏิบัติการอำพราง ผู้ขออนุญาตต้องทำเป็นหนังสือต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย และ 2) ปัญหาการปฏิบัติการอำพรางกรณีเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจปฏิบัติการอำพรางไปก่อนโดยไม่ต้องได้รับอนุญาต แล้วรายงานโดยระบุความจำเป็นเร่งด่วนภายในสามวัน นับแต่วันที่เริ่มปฏิบัติการอำพราง เป็นกรณีให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการต้องกระทำการโดยลำพัง อาจไม่ได้รับความคุ้มครองจากหัวหน้าสายงาน ดังนั้น      จึงเสนอให้แก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการปฏิบัติการอำพราง เพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2555 ข้อ 9 ผู้ซึ่งอนุญาตให้ปฏิบัติการอำพราง 1) การอำพรางตาม ข้อ 3 (1) จะต้องเป็นข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งตั้งแต่ผู้กำกับการในเขตพื้นที่ปฏิบัติการอำพราง 2) การอำพรางตามข้อ 3(2) 3) จะต้องเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าสายงานและมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือเทียบเท่า กรณีข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอประจำพื้นที่ขึ้นไป และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 15 ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานรายงานการปฏิบัติงานอำพรางทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ ต่อข้าราชการตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าสายงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎกระทรวงว่าด้วยการปฏิบัติการอำพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2555. (2555). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 35 ก หน้า 1-6 (20 เมษายน 2555).

จรัล ดิษฐาอภิชัย. (2564). เรื่องสิทธิมนุษยชน : การล่อซื้อกับสิทธิมนุษยชน. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2564 จาก http//www.fpps.or.th/news.php?detail=n1079290620.news..

จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ และคณะ. (2545). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : กรณีศึกษาในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 47 (2), 121.

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 9 ก หน้า 1-8 (14 มกราคม 2551).

ภานุรุจ สุวรรณรัตน์. (2557). การตรวจสอบและถ่วงดุลการแสวงหาพยานหลักฐานศึกษา: กรณีการ ปฏิบัติการอำพรางของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามพระราชบัญญัติวิธีการพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมานี. (2542). การจัดโปรแกรมป้องกันยาเสพติดในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสุขศึกษา, 22(83), 37-51.

ยุพยงค์ วิงวร และสุธี อังศุชัยกิจ. (2563). การรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อซื้อและการล่อให้กระทำความผิดเชิงเปรียบเทียบ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 235-246.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). โครงการศึกษาวิจัย “กฎหมายเกี่ยวกับการล่อให้กระทำความผิดอาญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายนานาชาติ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักปราบปรามยาเสพติด. (2564). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2564 จาก https://bit.ly/3n1qRwn.

Florida Statutes Title XLVII. (n.d.). Criminal Procedure and Corrections Chapter 914.28. Confidential informants : The Florida Leqislature.