การบริหารการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

เกรียงไกร นรินทร์
ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของบริหารจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยระเบียบวิธีเชิงปริมาณ และระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำนวน           341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .990 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (t-test)


ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มาก เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผล 2) ด้านการวางแผน 3) ด้านการประสานงาน 4) ด้านการจัดการองค์กร 5) ด้านการสร้างแรงจูงใจ ตามลำดับ 3. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู มีแนวทางการดำเนินงาน 5 ด้าน 26 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผล 4 แนวทาง 2) ด้านการวางแผน 7 แนวทาง 3) ด้านการประสานงาน 4 แนวทาง  4) ด้านการจัดการองค์กร  7 แนวทาง 5) ด้านการสร้างแรงจูงใจ  4 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ณัฐธีร์ ศรีวังราช. (2554). การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนคูเมืองวิทยาคม อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารุณี บุญเพ็ง. (2554). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.

ปรเมศวร์ มุทาพร. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพศรี ค่อมบุญ. (2553). ศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานโรงเรียนบ้านปลาดุก อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุพาพันธ์ มินวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโครงงาน เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3P) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรวัฒน์ บุญดี. (2554). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเว็บเพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติและการทำงานแบบร่วมมือของนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สำนักฯ.

สุรศักดิ์ จันทรา. (2554). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนบ้านนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวัฒน์ นิยมไทย. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลสมัย.

องอาจ รักษา. (2552). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนบ้านโคกไม้แดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรพรรณ กล้าวิจารย์. (2553). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนสงยางสงเปลือยวิทยาคม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1991). Management. NewYork: McGraw-Hill.

Flippo, E. B. (1970). Principle of personnel management. New York: Mc Graw-Hall.

Gregg, R. T. (1957). The administrative process. New York: Harper and Row.

Gulick, L. (1937). Notes on the theory of organization. New York: Institute of Public Administration, Columbia University.

Robbins, S. P. (1978). Personnel, the management of human resources. New Jersey: Prentice Hall.