ปัญหาการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่สอดคล้องกับการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยพิจารณาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในเรื่อง 1) การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 2) การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและมาจากการสรรหา 3) การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 1) ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จะปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จำนวน 80 คน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 200 คน จึงสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2) สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและมาจากการสรรหา จะปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา จึงไม่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 3) สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จะปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490, 2492, 2511, 2517, 2518, 2521, 2534 และ 2560 ซึ่งการได้มาของสมาชิกวุฒิสภาพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ หรือ มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ดังนั้น จึงเสนอให้มีการแก้ไขการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ควรมีที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
โกเมศ ขวัญเมือง. (2555). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ภูทับเบิก.
จุมพล หนิมพานิช. (2551). หลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2552). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูมิ มูลศิลป์. (2563). บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่ กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. สถาบันพระปกเกล้าเรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2564 จาก https://www.kpi.ac.th › knowledge › research › data.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489. (2489). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 63 ตอนที่ 30 หน้า 32 (10 พฤษภาคม 2489).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2490. (2490). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 64 ตอนที่ 53 หน้า 13 (9 พฤศจิกายน 2490).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492. (2492). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 17 หน้า 13 (23 มีนาคม 2492).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511. (2511). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนพิเศษ หน้า 28 (20 มิถุนายน 2511).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2518. (2518). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 14 หน้า 2 (23 มกราคม 2518).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521. (2521). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 146 หน้า 23 (22 ธันวาคม 2521).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. (2534). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 216 หน้า 28 (9 ธันวาคม 2534).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก หน้า 28 (11 ตุลาคม 2540).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 39 (24 สิงหาคม 2550).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 143 ตอนที่ 40 ก หน้า 30 (6 เมษายน 2560).
วราภรณ์ มีเปรมปรีดิ์. (2556). รูปแบบวุฒิสภาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยกับความสอดคล้องตามหลักประชาธิปไตย. การฝึกอบรมหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย : รุ่นที่ 1 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
วิชัย ตันศิริ. (2548). วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมยศ เชื้อไทย. (2549). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับใช้เรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.