ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อธิวัฒน์ สอนเนย
ธนกฤต โพธิ์เงิน
ภมร ขันธหัตถ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี     3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 384 คน สัมภาษณ์ผู้นำชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 15  คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .95 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามตัวแปร สถิติที่ใช้ ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการนอบน้อม ด้านการบริการ และด้านเสริมพลังอำนาจ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ต่างกัน มีความคิดเห็นภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า ปัจจัยคุณลักษณะผู้นำจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านสถานการณ์ ส่งผลต่อผู้นำแบบบริการของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 65.58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value < .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กัญญา ศรีมหันโต. (2550). คุณลักษณะผู้บริหารท้องถิ่นที่ประชาชนพึงประสงค์ของเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จงกมล ประสมสุข. (2550). คุณลักษณะของผู้นาท้องถิ่นในความคิดเห็นของประชาชน: กรณีศึกษาเขตพื้นที่ อบต.เกาะลอย. ใน ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณรงค์ศักดิ์ สนธิ. (2551). คุณลักษณะนักการเมืองท้องถิ่นตามความคาดหวังของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น จังหวัดระยอง. ใน รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นุชจรี วีรพิพัฒน์. (2555). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประหยัด หงษ์ทองคำ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2529). ปัญหาและแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารเทศบาลไทย. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์.

พรเพชร์ สุดถิ่น. (2555). คุณลักษณะที่คาดหวังของนายกเทศมนตรีของเทศบาลเมืองปรกฟ้าอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เยาวเรศ รัตนจรัญ. (2558). คุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รณกฤต ทะนิต๊ะ. (2553). คุณลักษณะนักการเมืองท้องถิ่นตามความคาดหวังของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สาคร สุริยะโชติ. (2550). คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นตามทัศนะของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลแม่สายอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี : สำนักงานจังหวัดปทุมธานี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2564. จังหวัดปทุมธานี.

Krejcie, R.V. & Moran, D.W. (1970). Determining Sample Size For Research Activities. Educational and Measurement, 30(30), 607-610.