การใช้อำนาจรัฐกับการสละสมณเพศ กรณีต้องคดีอาญา ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์และพัฒนาการของกฎหมาย

Main Article Content

สำราญ ย่อยไธสงค์
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาการใช้อำนาจรัฐกับการสละสมณเพศกรณีพระภิกษุต้องคดีอาญาในอดีต 2. ศึกษาพัฒนาการของกฎหมายที่ให้รัฐใช้อำนาจดำเนินการให้พระภิกษุสละเพศกรณีต้องคดีอาญา 3. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐในการให้พระภิกษุสละสมณเพศ กรณีต้องคดีอาญาให้เหมาะสมกับภาวการณ์ในปัจจุบัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากกฎหมาย ตำรา คำพิพากษาศาลฎีกา และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 


          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการใช้อำนาจรัฐกับการสละสมณเพศกรณีพระภิกษุต้องคดีอาญาในอดีตที่ผ่านมาพบว่า เกิดจากพระภิกษุถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายและผิดพระวินัย ซึ่งการใช้อำนาจรัฐในการดำเนินการให้พระภิกษุสละสมณเพศนี้ มีพัฒนาการทางกฎหมายมาตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของแต่ละยุคสมัย แต่มีบางประเด็นที่พบและต้องหาทางแก้ไขในกรณีที่พระภิกษุถูกกล่าวหาไม่ยอมสละสมณเพศ จึงใช้อำนาจรัฐให้ดำเนินการสละสมณเพศ เนื่องจากพระภิกษุที่ถูกกล่าวหานั้น ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ตราบเท่าที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้ผิด      จึงยังได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การควบคุมตัวหรือคุมขัง หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ยอมสึก มีความประสงค์จะสู้คดีในสถานะสมณเพศ และพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการควบคุมตัวพระภิกษุรูปนั้นในสถานที่ที่กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมตัว สถานที่ควบคุมให้เป็นไปตามกฎกระทรวง จึงสมควรแสวงหาหลักเกณฑ์ วิธีการและสถานที่เพื่อความเหมาะสม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฎหมายตราสามดวง เล่ม 2. (2505). ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวง ตรา 3 ดวง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา.

คมชัดลึก. (2561). เงินทอนวัดพ่นพิษจับสึก 5 พระผู้ใหญ่. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก https://www.komchadluek.net/news/327384.

ผิน ทุ่งคา. (2564). ประวัติศาสตร์ เรื่อง “ภิกษุรัก” รับฝากทรัพย์ “อีเพ็ง” ผู้เป็นกบฏ รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินคดีเช่นใด?. เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2565 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_6679.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ). (2526). หนังสือผจญมาร. กรุงเทพมหานคร : เทพนิมิตรการพิมพ์.

พระระพิน พุทธิสาโร. (2561). การล้อมปราบจากรัฐสู่ศาสนา : จับพระพิมลธรรมสึก มายาคติว่าด้วยความเป็นลาว ความก้าวหน้า และคอมมิวนิสต์. เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2565 จากhttps://www.google.com/search.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79/ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ หน้า 29 (31 ธันวาคม 2505).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : กองธรรมศาสตร์และการเมือง.

สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2565 จาก https://adm-vipassana.mcu.ac.th/index.php/page-3/home-3-2/.

สำนักพิมพ์อิศรา. (2563). ศาลคดีทุจริตฯสั่งคุกจริง “พนม” 2 ปี 12 ด. โกงเงินทอนวัด - “พระพรหมสิทธิฯ” 36 ด.รอลงโทษ 2 ปี. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2565 จาก https://adm-vipassana.mcu.ac.th/index.php/page-3/home-3-2/.

หยุด แสงอุทัย. (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.