รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ประชากรทั้งหมด 341 คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน สนทนากลุ่ม จำนวน 10 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตรวจสอบความรู้ขั้นพื้นฐานของผู้เรียนและจัดกิจกรรมปรับความพร้อมของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตรวจสอบผลการประเมินการเรียน จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุก ๆ ด้าน
2. พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ รักงาน วิริยะ สู้งาน จิตตะ ใส่ใจงาน วิมังสา ทำงานด้วยปัญญา และพร้อมด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายของโรงเรียนมัธยมศึกษา นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการบริหารงานวิชาการตามสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 3. รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ประกอบด้วย 4 ส่วน คือส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ตัวแบบ ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ฐณิกานต์ เต่งตระกูล. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสารคาม.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีระพร อายุวัฒน์. (2552). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วสันต์ นาวเหนียว. (2550). แนวทางการจัดการที่เป็นเลิศของโรงเรียนเร่งสู่ฝัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). ข้อมูลพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 –2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุพันธ์ แสนสี. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น มัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.