การถ่วงดุลในงานสอบสวนของพนักงานสอบสวน

Main Article Content

กชพร ทรัพย์โสม
บัณฑิต ขวาโยธา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ในการถ่วงดุลงานสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามหลักนิติธรรมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 2. ศึกษากระบวนการถ่วงดุลอำนาจสอบสวนคดีอาญาของตำรวจในระบบกฎหมายต่างประเทศ ทั้งระบบ                   ซิวิล ลอว์และระบบคอมมอน ลอว์ 3. ศึกษาแนวทางหรือกระบวนการกฎหมายในประเทศและต่างประเทศ เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียการถ่วงดุลงานสอบสวนคดีอาญาของตำรวจในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากหนังสือ บทความ และเอกสารวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ


         ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการโครงสร้างขององค์กรตำรวจและพัฒนางานสอบสวนเป็นแบบอำนาจรวมศูนย์ ทำให้มีโอกาสแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและการเมืองได้ การตรวจสอบและลงโทษที่ไม่รุนแรง มีผลต่อการทำผิดของตำรวจ และทำให้ประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองตามหลักนิติธรรม 2. การสอบสวนของไทยมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มีการถ่วงดุลที่เพียงพอ จึงเป็นช่องทางการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหาประโยชน์ส่วนตน 3. เปรียบเทียบการถ่วงดุลงานสอบสวนในประเทศไทยกับประเทศอังกฤษแล้ว พบว่า ประเทศอังกฤษจะมีองค์กรภายนอกที่มาจากการเลือกตั้งมาถ่วงดุลการสอบสวนของตำรวจ ประเทศฝรั่งเศส พนักงานอัยการและผู้พิพากษา สอบสวนร่วมกับตำรวจตั้งแต่เกิดเหตุ ประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ตำรวจมีอำนาจมากแต่มีพนักงานอัยการทำหน้าที่ถ่วงดุลตำรวจอย่างเข้มงวด และประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติกฎหมายไว้ให้พนักงานอัยการถ่วงดุลอำนาจสอบสวน การถ่วงดุลการสอบสวนอาจนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลเพื่อประโยชน์ในทางคดี หรือองค์กรอิสระมาถ่วงดุลการสอบสวนคดีอาญา เพื่อป้องกันการแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรม น่าจะเหมาะสมกับสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2565). พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/xcYfz.

กำชัย จงจักรพันธ์. (2555). หลักนิติธรรม. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก https://k-rc.net/imageupload/21576/_1.pdf.

กิติพงศ์ สุนทรวิภาต. (2562). การแยกงานสอบสวนเพื่อความเป็นเอกภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ใน การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2550). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

คนึง ฦาไชย. (2536). อัยการสูงสุดของศาล. 100 ปีแห่งการสถาปนาสถาบันอัยการสูงสุด. กรุงเทพมหานคร: ฉลองรัตน.

ณัฐวรรณ สิตวรเวศย์. (2561). ขอบเขตและสภาพบังคับทางกฎหมายในกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังจับเกินความเหมาะสม. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยโพสต์ออนไลน์. (2565). ชัตดาวน์เครือข่ายเว็บพนัน 'สารวัตรซัว' ยึดทรัพย์แล้วกว่า 7 พันล้าน. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2565 จาก https://shorturl.asia/yNQVh.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2564). หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

พระมหากริช ถิรธมฺโม, สุธาทิพย์ นววิธากาญจน์, ปานวลัย รันตบุตรศรี และภมรรัตน์ ชุมภูปะวิโร. (2563). ผู้กล้าแห่งประชาธิปไตยมองเตสกิเออร์. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2(3), 1 - 8.

ภาวินี หาญธงชัย. (2563). เอกภาพการสอบสวนในคดีอาญา:ศึกษาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิศรุต สินพงศพร. (2564). แม่ขอสู้ 11 ปี เพื่อความยุติธรรม อธิบายคดีนายแพทย์ตกอาคาร. เรียกใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2565 จาก https://www.thairath.co.th.

ศิรินภา สมภาร. (2561). ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(26), 211-228.

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. (2566). สถิติ พรก.ฉุกเฉินที่ศาลยกฟ้อง-อัยการสั่งไม่ฟ้อง. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2565 จาก https://tlhr2014.com/archives/41328.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน). (2564). Way Out อำนาจเชิงโครงสร้างในกระบวนการยุติธรรม. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2566 จาก https://shorturl.asia/thG3Y.

สรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2562). คุณธรรมในทัศนะของเพลโต. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 23-38.

สำนักงานกฎหมาย/ทนายความกอบเกียรติและเพื่อน. (ม.ป.ป.). เหตุผลหลัก 5 ประการในคดีอาญาที่ทำให้จำเลยชนะคดีศาลยกฟ้อง. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.kobkiat.com/17419292/.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2540). รวมบทความด้านวิชาการของศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/DLfUJ.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2564). สถิติคดี – สำนักงานอัยการสูงสุด. เรียกใช้เมื่อ 25 มิถุนายน 2565 จาก http://www3.ago.go.th.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และคณะ. (2551). ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. โครงการเพื่อพัฒนา กระทรวงยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม.

อติวัชร์ สายสอิ้ง และ Atiwat Saisaing (2556). อำนาจสอบสวนของพนักงานฝ่ายปกครอง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:100856.