การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนรวมระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

ฉวีวรรณ โยคิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการนิเทศของครู 2) พัฒนารูปแบบนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบนิเทศ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วิธีดำเนินการวิจัย คือ ตอน 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการนิเทศของครู ตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศ ตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ตอนที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 40 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ 1) รูปแบบการนิเทศ 2) แบบทดสอบครู 3) แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล 4) แบบประเมินด้าน           การจัดการเรียนรู้ของครู 5) แบบวัดความสามารถการอ่าน เขียน และคิดคำนวณของนักเรียน  6) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความต้องการรับการนิเทศในรูปแบบการนิเทศหลายวิธีหรือแบบผสมผสาน ทั้งนิเทศแบบพบหน้าและนิเทศแบบออนไลน์ โดยมีรูปแบบนิเทศที่ชัดเจนเป็นกระบวนการ      2) รูปแบบนิเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) กระบวนการนิเทศ (5) การวัดผลประเมินผล 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน พบว่า รูปแบบนิเทศแบบผสมผสานมีความเหมาะสมและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมาก 4) ผลการใช้รูปแบบนิเทศ พบว่า  (1) ความรู้ครูหลังนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศ (2) คุณภาพของแผน (IEP) และแผน (IIP) ระดับมาก   (3) ความสามารถการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (4) ความสามารถด้านการอ่าน เขียน และคิดคำนวณของนักเรียน คะแนนหลังครูได้รับนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศ (5) ความพึงพอใจของครูภาพรวมระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนรวม เล่ม 5 เด็กที่มีปัญหาทางการ เรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณการคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดช สาระจันทร์. (2559). รูปแบบการนิเทศโดยใช้การเสริมพลังเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(6), 87-99.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นฤมล รอดเนียม. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนิสิตปริญญาตรี. ใน ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Problem-based Blended Learning for Developing Critical Thinking Skills ใน รวมบทความ เรื่องเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาการศึกษา : นวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2560). ข้อเสนอว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2563 จาก http://pokpong.org/wp-content/uploads/education-reform-proposal.pdf.

สาวิตรี เถาว์โท. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2555-2558) เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ใน ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.