ผลกระทบการแก้ไขกฎหมายยาเสพติด กรณียกเลิกกัญชาจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ประเภท 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการแก้ไขกฎหมายยาเสพติด กรณียกเลิกกัญชาจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 เพื่อหาข้อเสนอแนะและแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาให้มีความเหมาะสม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยเอกสาร งานวิจัย บทความ สื่ออินเทอร์เน็ต รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ
ผลการวิจัยพบว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ทำให้กัญชามีทั้งส่วนที่เป็นยาเสพติดและส่วนที่ไม่ถือว่าเป็นยาเสพติด โดยที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 กำหนดให้ “สารสกัด” จากทุกส่วนของพืชกัญชาซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis เป็นยาเสพติด ยกเว้น (1) สารสกัดจากพืชกัญชาที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก หรือ (2) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชา ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นยาเสพติด ทั้งนี้ ต้องเป็นพืชกัญชาที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกภายในประเทศเท่านั้น หากเป็นกัญชาจากต่างประเทศที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาต ย่อมถือว่าเป็นยาเสพติดทุกกรณี ทำให้ประชาชนเกิดเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่ากัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย แล้วมีการนำกัญชาไปใช้เพื่อการนันทนาการ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นเยาวชนอย่างแพร่หลาย และส่งผลกระทบต่อข้อผูกพันตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 ซึ่งอนุสัญญาทั้งสองฉบับยินยอมให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ชัย สมรภูมิ และคณะ. (2023). ปลดล็อกกัญชา : กฎหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารการบริหารการปกครองและวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 285-302.
นท ศิริกาญจน์. (2560). การศึกษาเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีดในจังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. (2562). พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ การเมืองระดับโลก ประเทศ และชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/4pOvg.
บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. (2566). บทความพิเศษ ข้อเท็จจริงและบทวิเคราะห์นโยบายกัญชาของประเทศไทย: มุมมองด้านสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(2), 375-388.
พลัฐวัษ วงษ์พิริยชัย. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการปลูกและการใช้กัญชา : กรณีประเทศ อุรุกวัย. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 4(2), 36-48.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2565). เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 35 ง (9 กุมภาพันธ์ 2565).
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก (8 พฤศจิกายน 2564).
วนิดา รัตนสุมาวงศ์ และคณะ. (2561). ทฤษฎีของพฤติกรรมเสพติดและข้อถกเถียงที่มีในปัจจุบัน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(3), 295-306.
วีรยา ถาอุปชิต และนุศราพร เกษสมบูรณ์. (2564). นโยบายกัญชา : การวิเคราะห์เปรียบเทียบไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน และอิสราเอล. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(1), 4-16.
วีระเดช คชเสนีย์. (2565). “ปลดล็อกกัญชา” ไม่เท่ากับ “กัญชาเสรี” เน้นใช้ทางการแพทย์ – ต่อยอดเศรษฐกิจ. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/naqy9.
สยามรัฐ นิวส์. (2565). นักกฎหมาย“จี้”บิ๊กตู่-วิษณุ แก้ประกาศ สธ.คืนสถานะกัญชาเป็นยาเสพติด. เรียกใช้เมื่อ 21 กรกฎาคม 2565 จาก https://siamrath.co.th/n/367013.
สวิตตา ธนวัฒน์. (2562). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมยืนยันการใช้ประโยชน์ของกัญชาในประเทศไทยเป็นไปตามหลักสากลโดยรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการใช้และควบคุมอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอน. เรียกใช้เมื่อ 30 กรกฎาคม 2562 จาก https://shorturl.asia/GbACZ.
สานิตย์ แสงขาม และฉัตรวรัญซ์ องคสิงห. (2563). มายาคติและความหมายเรื่องพืชกัญชาในสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(3), 193-206.
BBC NEWS ไทย. (2565). กฎหมายอะไรใช้ควบคุมกัญชาในช่วงสุญญากาศและเพียงพอหรือไม่. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/n4EIv.
Today News ไทย. (2565). ศุภชัย จ่อหารือกมธ.ตำรวจ-สธ.ปมปลดกัญชาออกจากยาเสพติดหลังยายวัย 70 ปีถูกจับปลูกกัญชา 1 ต้น. เรียกใช้เมื่อ 13 กรกฎาคม 2566 จาก https://workpointtoday.com/0marijuana-21/.