ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

อภิสิทธิ์ เที่ยงคูณ
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
เขต 1 จำนวน 302 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ 2) องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการให้ความสำคัญผู้รับบริการ และ 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้แก่ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (X3) ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ (X1) และด้านการควบคุมกลยุทธ์ (X4) สามารถร่วมกันพยากรณ์องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้ร้อยละ 79.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแสดงสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้  Zy’ = 0.413(ZX3) + 0.344(ZX1) + 0.206(ZX4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิศรา หงษา และ สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ: การก้าวเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 7(2), 94-79.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กราฟิโก ชิสเต็มส์ จำกัด.

บุษยา วีรกุล. (2558). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

พงษ์ธร หนูฤทธิ์ และสุรชัย สิกขาบัณฑิต. (2563). วัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(1), 249-259.

พสุ เดชะรินทร์ และคณะ. (2549). การพัฒนาการเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์มิเดีย จำกัด.

วรพิชญ์ ลิขิตายน. (2560). การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรีให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 179-189.

วรวรรษ เทียมสุวรรณ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิซาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 219-231.

วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในยุคดิจิตอลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(1), 44-52.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 374-384.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2562). การบริหารจัดการสถานศึกษาชั้นพื้นฐานสู่องค์การสมรรถะสูงโดยใช้พลังร่วมเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(1), 207-223.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.cad.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อังศุมาลิน กุลฉวะ และ สมใจ ภูมิพันธุ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 60-67.

Blanchard. (2007). Leading at a Higher Level: Blanchard on Leadership and Creating High Performing Organizations. United States : Prentice Hall.Canada: Nelson Education Ltd.

Hitt, M. A., Hoskisson, R. E.,& Ireland, R. D. (2007). Management of strategy: Concept and cases. Mason, OH : Thomson South-Western.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Deterring sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 608.

Phipps, K.A. and Burbach, M.E. (2010). Strategic Leadership in the Nonprofit Sector: Opportunities for Research. Journal of Behavioral and Applied Management, 11, 137-154.