แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

ปนัดดา ศิลปชัย
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยระยะที่ 1 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน จำนวน 310 คน การสุ่มตัวอย่าง โดยการแบ่งชั้น กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอด้วยวิธีการบรรยาย


         ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.90) สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.65) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นภาพรวม พบว่าค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.224 ถึง 0.277 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ค่า (PNIModified = 0.277) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรพัฒนาตนเองและบุคลากร โดยการจัดสรรงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานในเชิงบูรณาการ ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล และชุมชนแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ โครงการสานพลัง ประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2555). การวิจัยทางการศึกษา: วิจัยสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพมาศ เศวตรวรโชติ. (2559). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชกุฏราชวิทยาลัย.

นารี น้อยจินดา. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 10(2), 69-80.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปทุมพร เปียถนอม. (2554). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ หนูงาม. (2559). ภาวะผู้นำแบบบูรณาการของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

ศักดา พรมกุล. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพงษ์ ฝูงชน. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการทำงานร่วมกัน กรณีศึกษา: บุคลากรครู โรงเรียนเยาวลักษณ์วิทยาหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564 (SAR) ปีการศึกษา 2563. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2564-2565). หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภา.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hatala, R. J., & Hatala, L. M. (2005). Integrative leadership. Altona, MB. Canada: Friesens Corporation.

Wilson Learning Worldwide Incorporation. Integrated leadership: Wilson Learning’s Point-of-view on Effective Leadership: Balance of Essence and form. Accessed January 16, 2015. Available from www.wilsonlearning.com.

Yukl, G. (2010). Leadership in organizations. (7th ed.) New Jersey: Pearson.