ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1

Main Article Content

นันทนา มลาตรี
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ ประชากรจำนวน 1,609 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 310 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนของผู้บริหารโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการกระจายอำนาจ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการจัดการความหลากหลาย 2) คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านความผูกพันของครู ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ได้แก่ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านความลุ่มลึกในองค์ความรู้ และด้านความยุติธรรม สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 1 ร้อยละ 61.1 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน [กสร.]. (2565). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการ. เรียกใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 จาก https://www.labour.go.th/index.php/about/about-m5.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. เรียกใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 จาก https://shorturl.asia/Ripcn.

ทศพร ทานะมัย และศรากุล สุโคตรพรหมมี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 152-160.

ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์ และกนกอร สมปราชญ์. (2558). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 57-64.

นครินทร์ อิ่มสวาสดิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(1), 83-93.

วรรณา นิ่มนวล, นุชนภา รัตนศิรประภา, และ สายสุดา เตียเจริญ. (2561). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 139-15.

วสันต์ ศักดาศักดิ์, มีนมาส พรานป่า และเบญจวรรณ ศรีมารุต. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่ยั่งยืนกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50(1), 1-14.

วาสนา รังสร้อย. (2564). ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรครูโรงเรียนวัดลานบุญ สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 60-74.

วิรัช สงวนวงศ์วาน และณัฐณิชา ปิยปัญญา. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 3(2), 77-90.

วิไลภรณ์ เตชะ. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริวรรณ จันรจนา และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 160-174.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2565). เรียกใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 จาก https://www.ocsc.go.th/.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน [ก.พ.]. (2565). ยุทธศาสตร์ 20 ปี สำนักงาน ก.พ.. เรียกใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 จาก https://shorturl.asia/4zc9s.

สุวิตรา บุญแจ้ง, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์, และ กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์. (2563). ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานนทบุรี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

อัครเดช นีละโยธิน, รัชนี จรุงศิรวัฒน์, และภัทราพร อรัญมาลา. (2560). ภาวะผู้นำแบบกระจายอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(3), 208-219.

Dubrin, A. J. (2010). Principles of leadership(6th Ed.). Canada: South-Western Cengage Learning.

Hallinger,P and Suriyankietkaew, S. (2018). Science Mapping of the Knowledge Base on Sustainable Leadership, 1990-2018. sustainability journal, 10, 1-22.

Hargreaves, A and Fink, D. (2003). The Seven Principles of Sustainable Leadership. Retrived April 2, 2023 from https://shorturl.asia/BTXue.