กลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทยภายใต้บริบท Next Normal

Main Article Content

วรันธร ณ นคร
ปาลิดา ศรีศรกาพล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสของธุรกิจผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการเกษตรผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย ภายใต้บริบท Next Normal โดยใช้ SWOT Analysis 2) พัฒนาแนวทางและจัดทำกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการเกษตรผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย ภายใต้บริบท Next Normal โดยใช้ TOWS Matrix เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง รวมทั้งหมด 27 ราย ทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า จากประเด็นสถานการณ์ที่กลุ่มธุรกิจกำลังเผชิญสามารถแบ่งแนวทางของกลยุทธ์ที่ใช้ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อย เลือกใช้กลยุทธ์เชิงแก้ไข จากสถานการณ์ในปัจจุบัน เน้นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ตามตลาดมากจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดภาระการทำงานที่มากเกินโครงสร้าง และเลือกแนวทางในการหา 3rd  party มาเสริมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้มั่นคงก่อนที่จะต่อยอดการดำเนินต่าง ๆ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อม เลือกใช้กลยุทธ์เชิงรุก หาเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาผลผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้ได้มากที่สุด เนื่องจากการมีเครือข่ายทางธุรกิจและการสนับสนุนของรัฐ จะทำให้เข้าถึงปริมาณความต้องการของตลาดได้ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง เลือกใช้กลยุทธ์เชิงป้องกัน ควรมุ่งใช้เทคโนโลยีระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ และเพื่อสามารถโยกการแข่งขันของตลาดออกจากตลาดไทยที่มีการผูกขาดมากจนเกินไป ไปสู่ตลาดต่างประเทศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิ, สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ และเชาว์ โรจนแสง. (2563). ความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระดับตำบล (OTOP) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(2), 114 - 127.

พิรามล ห่มสิงห์ และชัญญา อภิปาลกุล. (2560). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณยอดรับซื้ออ้อยไร้พรนิรันดร์ ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2560.

ฟ้างาม ชะนะมา และวินิต ชินสุวรรณ. (2560). แนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อธุรกิจ SMEs ของทีมลูกค้าผู้ประกอบการ 2 ธนาคารกสิกรไทย สาขากาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2560.

ภูวกฤษ รุ่งทิวากรกิจ. (2565). การส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรประเภทผลไม้. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 73 - 82.

ยุพิน พงษ์ทอง. (2564). สำรวจผลไม้ตะวันออกปี65 “มังคุด”ยอดผลผลิตพุ่ง81%. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/979775

วรรณา โชคบรรดาลสุข, กุลยา อนุโลก, วรลักษณ์ ทองประยูร และลำใย มีเสน่ห์. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูปในจังหวัดราชบุรีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 77 - 91.

สมบูรณ์ สุ่นสวัสดิ์ และ จินดา ขลิบทอง. (2562). การส่งเสริมการผลิตและแปรรูปกล้วยน้ำว้าของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเยาวชนแปรรูปผลผลิตเกษตรบ้านห้วยสาลิกา อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9

สุมิตร สุวรรณ. (2559). การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://onzonde.mutiply.com/

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: อุตสาหกรรมการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). สินค้าเกษตรไทยยังแข็งแกร่งในตลาดโลก เกษตรฯ เผย ปี 64 ส่งออกยังเติบโต ทั้งคู่ค้า FTA และอาเซียน. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2566 จาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./38149/TH-TH

อดิเรก วังแสง. (2561). การจัดการกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษเพื่อการส่งออก อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อริย์ธัช อักษรทับ, อิสรี แพทย์เจริญ, ชาญวิทย์ จาตุประยูร และ วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล. (2564). การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3) 44 - 61.