ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิกที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ที่ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนวัดลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 ห้องเรียน มี 15 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิก หลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่า ทักษะการจำแนก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และทักษะการเปรียบเทียบ และทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และ 2) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์โดยใช้ผังกราฟิกอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ 1.3 หนูมีความสุขในการทำกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือข้อที่ 2.1 หนูชอบใช้ผังกราฟิกประกอบการทำกิจกรรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และข้อที่ 1.2 หนูมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). สอนให้คิดด้วยจิตวิทยาศาสตร์. นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2565). เหตุผลที่ไม่ควรเร่งให้เด็กเขียน. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤษภาคม 2566 จากhttps://www.trueplookpanya.com/education/content/91398-teaartedu-teaart-.
พรรณวิไล ชมชิด. (2557). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วรนาท รักสกุลไทย และคณะ. (2561). การใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แฮปปี้เลิร์นนิ่ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โกโก้พริ๊นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
Charlesworth, Rosalind., & Lind, Karen K. (2020). Math and science for young children. 8th ed. The United State of America: Wadsworth Cengage Learning. and science process skills in children regarding external elements, Research, 8(4A), 55.
Joyec, B et al. (1992). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.
Nugroho, T. A. T., & Surjono, H. D. (2019). The effectiveness of mobile-based interactive learning multimedia in science process skills. Journal of Physics:Conference Series, 10(2),1.