ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 312 คน การวิจัยแบ่งออกเป็นระยะที่ 1 การศึกษาระดับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอโดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยูในระดับน้อยทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน 2) แนวทางการจัดการและป้องกันการเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู พบว่า ผู้บริหารควรใช้โครงสร้างการบริหารในการแก้ไขปัญหา สร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศองค์กรที่ดี เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ มีการมอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถ สร้างแรงจูงใจให้ครูเห็นคุณค่าในตนเอง สร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ให้ความสำคัญกับบุคลากรอย่างเท่าเทียม กำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ติดตามการทำงานและแก้ปัญหาร่วมกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
จิรชยา ศรีทา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มบ้านนางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์ และภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(2), 99-110.
ประสิทธิ์ เผยกลิ่น. (2565). ความท้อแท้ในการปฏิบัติหน้าที่ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น (ขนาดใหญ่) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 16(1), 44-62.
โยธิน วิเชษฐวิชัย. (2561). รู้ก่อนป้องกันได้ Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/ detail.
โรงพยาบาลราชวิถี. (2564). สัญญาณ Burnout Syndrome อาการของคน เบื่องาน หมดไฟ และวิธีจัดการ. เรียกใช้เมื่อ 18 มิถุนายน 2567 จาก https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=16953.
วรางคณา พนาสัณท์ และสุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2561). ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนร่วมเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(7), 141-151.
สุภัค วงศ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เหมือนขวัญ จรงค์หนู และนนทิรัตน์ พัฒนภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 13(2), 48-61.
อโณทัย สุ่นสวัสดิ์. (2565). BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.bangkokhospital.com/content/burnout-syndrome.
Benaim, S., Allen, I. (1967). Them iddle years. London: England: T. V. Publications L.
Stepanski, E. J. (2002). Etiology of insomnia. In T. L. Lee-Chiong, M. J. Sateia, M. A.Carskadon (Eds.). Sleep medicine (pp. 161-168). Philadelphia: Hanley & Belefus.
World Health Organization. (2019). Burn-out an occupational phenomenon: International classification of diseases. Retrieved October 20, 2022 from https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.