ปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว โดยพิจารณาจาก 1) ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว 3) มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศและของประเทศไทย 4) ทำการวิเคราะห์ข้อมูล 5) การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย การวิจัยนี้เป็นการเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสารกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวขาดความสัมพันธ์กัน 2. แนวคิด และทฤษฎี เกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว ทำให้คู่พิพาทสามารถทำข้อตกลงกันได้ โดยผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ 3. มาตรการทางกฎหมายในสหราชอาณาจักร ศาลจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีจากพฤติกรรมและความพยายามในการระงับข้อพิพาทของคู่ความ ในประเทศไทยให้ศาลคำนึงถึง สถานภาพของการสมรส โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตร 4. การวิเคราะห์ปัญหาคู่ความไม่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีครอบครัว เกิดจากการไม่สร้างแรงจูงใจคู่พิพาทและผู้ไกล่เกลี่ย 5. ควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้คู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ดังนั้น จึงเสนอแก้ไขระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยค่าป่วยการของผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว พ.ศ. 2555 ข้อ 4 ให้ศาลพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเรื่อง โดยพิจารณาจากจำนวนทุนทรัพย์จำนวนคู่กรณี จำนวนครั้ง ระยะเวลา และผลสำเร็จของการไกล่เกลี่ย ทั้งนี้ เรื่องละไม่เกิน 10,000 บาท และ ข้อ 4/1 ในกรณีคู่ความเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและมีการตกลงประนีประนอมกันได้ ให้ศาลคืนค่าดำเนินคดีตามที่ศาลจะเห็นสมควร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
เจษฎา นาคะรัมภะ. (2562). สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เรียกใช้เมื่อ 6 กันยายน 2564 จาก https://www.constitutionalcourt.or.th › ewt_dl_link. PDF.
ชลากร เทียนส่องใจ. (2553). การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางเชิงพุทธ: หลักการและเครื่องมือสำหรับการจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทนัช สิมะโชคดี. (2559). เหตุหย่าเพราะครอบครัวแตกร้าว : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเสริม หุตะแพทย์. (2545). ลักษณะการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.
ประคอง เตกฉัตร. (2556). การดำเนินคดีและการประนีประนอมคดีครอบครัว. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 4(6), 1-14.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2556). เจอวิกฤติจิตไม่วิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่โรงพิมพ์บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (แก้ไขปรับปรุงตาม ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558 ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 พ.ศ. 2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127/ตอนที่ 72 ก/หน้า 12 (วันที่ 22 พฤศจิกายน 2553)
พูนสุข มาศรังสรรค์. (2554). การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. ใน พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการของผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว พ.ศ.2555. (2555). ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการของผู้ประนีประนอมคดีครอบครัว พ.ศ. 2555. (ประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 9 (6 เมษายน 2560).
สรวิศ ลิมปรังษี. (2550). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม.
สุภาวดี น้อยมณี. (2558). การสำรวจสถานการณ์เสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว ในตำบลแม่ยางฮ่อ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. ใน สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรศักดิ์ ยศสิงห์. (2562). กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีครอบครัว: ศึกษาการฟ้องหย่าในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความขัดแย้ง). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมร อำไพรุ่งเรือง. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล 5 ของพุทธศาสนิกชนกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
อรปรียา วสุมหันต์. (2553). พุทธวิธีจัดการความขัดแย้งในทัศนะของพระไพศาล วิสาโล. ใน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อริยา คุ้มภัย. (2543). ภูมิหลังบุคลิกลักษณะ และสภาวะทางจิตใจของผู้หญิงที่ถูกสามีทําร้าย:กรณีศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล.
อังคณา ช่วยค้ำชู. (2555). ความรุนแรงในครอบครัว: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการช่วยเหลือ. วารสารธรรมศาสตร์, 31(3), 130-145.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2545). จิตวิทยาชีวิตคู่และการบำบัดคู่สมรส. ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว: กรุงเทพมหานคร.