การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และประยุกต์ใช้กับรายวิชาหน้าที่พลเมืองของครูสังคมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสังคม การปฏิบัติตนเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ และความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎหมายในชีวิตประจำวัน ผู้สอนจึงต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาดังกล่าว ฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหา และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นการนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกความจริงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ เชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์แบบเก่ามาสู่กระบวนทัศน์ใหม่ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมความตระหนักรู้ในหน้าที่ของความเป็นพลเมือง เช่น การบริการสังคม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง การลงมือปฏิบัติทดลอง การฝึกกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และมีการผลงานที่มีความภูมิใจให้กับนักเรียน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) เนื้อหารายวิชาหน้าที่พลเมือง 2) ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 3) องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 4) กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 5) การประยุกต์ใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในรายวิชาหน้าที่พลเมือง ผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษาสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์และเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิ่งกาญจน์ กลิ่นจันทร์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคมเรื่องปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 80-91.
ชนาพร แสนสมบัติ. (2559). การสอนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 5(2) 1-11.
ตะวัน ไชยวรรณ, และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน: การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251-263.
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. วารสาร สสวท, 46(209), 40-45.
พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2564). Phenomenon - Based Learning: การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก https://shorturl.asia/JvgcM.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิภาดา พินลา และคณะ. (2566). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และทักษะการคิดขั้นสูง สำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 1-14.
ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงด้วยการสอนแบบปรากฎการณ์เป็นฐาน รูปแบบการเรียนรู้จากประเทศฟินแลนด์. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1, 61-81.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานการอบรมหลักสูตร Science Education for Science and Mathematically Gifted Learner The Normal Lyceum of Helsinki. https://www.obec.go.th/wp-content/ uploads/2019/06/ Finland-สวก.pdfdi.
สุชานันท์ วรวัฒนานนท์ และสกนธ์ชัย ชะนูนันท์. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(1), 136-149.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.
Daehler, K. and Folsom, J. (2016). Understanding science: learning from phenomena. Retrieved January 15, 2023 from http://www.WestEd.org/mss.