มาตรการทางกฎหมายเพื่อกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อกลาง กรณีการกลั่นแกล้งออนไลน์

Main Article Content

อุษณีย์ ตันสูงเนิน
สุมาลี วงษ์วิฑิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอร่าง ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในฐานะสื่อกลาง กรณีการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคผสมผสานระหว่างวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การยกร่าง ประเมินร่าง จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์ ไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการออกตามลักษณะและรูปแบบของการให้บริการ อีกทั้งมาตรการทางกฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้เจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถโต้แย้งเพื่อให้ผู้ให้บริการใช้ยกเลิกการระงับข้อมูล และนำเนื้อหาที่ถูกระงับนำขึ้นมาใหม่ได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ควรมีการระบุฐานความผิดเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์ไว้โดยเฉพาะ อีกทั้ง ควรมีการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการออกตามลักษณะประเภทของการให้บริการ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการทางกฎหมายที่เปิดช่องให้เจ้าของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถโต้แย้งเพื่อให้ผู้ให้บริการใช้ยกเลิกการระงับข้อมูล และนำเนื้อหาที่ถูกระงับนำขึ้นมาใหม่ได้ พร้อมทั้งผลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการประเมินร่างกฎหมายพบว่าการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีความเหมาะสม เนื่องจากการการกำหนด คำนิยาม ลักษณะความผิด และโทษของการกระทำความผิด เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งออนไลน์เพื่อให้ครอบคลุมการกลั่นแกล้งในทุกรูปแบบ ย่อมมีความจำเป็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คณพล จันทน์หอม. (2558). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิบุคคลจากการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ ซึ่งนำไปสู่การฆ่าตัวตาย: ศึกษากรณีกฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชวลิต อัตถศาสตร์. (2544). Cyberlaw กฎหมายกับอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น.

ธันยากร ตุดเกื้อ และมาลี สบายยิ่ง. (2560). รูปแบบ ผลกระทบ และวิธีการจัดการเมื่อถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 220-236.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 (24 มกราคม2560). ราชกิจจานุเบกษา 134 (10 ก), 24-35

สราวุธ ปิติยาศักดิ์. (2555). กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

สาวตรี สุขศรี. (2561). อาชญากรรมความรุนแรงบนอินเทอร์เน็ต. วารสารนิติศาสตร์, 42(2), 291-292.

สาวตรี สุขศรี. (2563). กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และอาชญากรรมไซเบอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมาลี วงษ์วิทิต. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Andrew M. Henderson. (2009). High-Tech Words Do Hurt : A Modern Makeover Expands Missouri's Harassment Law to Include Electronic Communications. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2565 จาก https://scholarship.law.missouri.edu/iss2/7/.

Robert, JR. B. Walter. (2008). Working with Parent of Bully and Victims. Thousand Oak: Sage.

We Are Social. (2565). รายงานสถิติ Thailand Digital Stat 2021. เรียกใช้เมื่อ 4 สิงหาคม 2565 จาก https://www.everydaymarketing.co/knowledge/Thailand-digital-stat-2021-we-are-social/.