การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อองค์การระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานของเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อองค์การของบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ ประกอบด้วย ก) ด้านลักษณะส่วนบุคคล ครอบคลุมถึงความรู้สึกของบุคคลต่องานและองค์การ ข) ด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การ ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในระดับต่าง ๆ ค) ด้านภาวะผู้นำ ครอบคลุมถึงความรู้สึกต่อการบริหารงานของผู้นำ คุณลักษณะของผู้บังคับบัญชา ง) ด้านนโยบายขององค์การ ครอบคลุมถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ที่องค์การมีให้กับบุคลากร จ) ด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ ครอบคลุมถึงสภาพการทำงาน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างผู้บริหาร/หัวหน้าส่วนงานกับพนักงาน/ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ จำนวน 48 คน เป็นผู้บริหารจำนวน 10 คน และผู้ปฏิบัติงาน 38 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจโดยรวมของบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ต่อองค์การอยู่ในระดับมาก (μ = 2.64, σ = 0.54) โดยความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การมากที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมขององค์การน้อยที่สุด ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนงานมีความพึงพอใจด้านลักษณะส่วนบุคคลสูงที่สุด ในขณะที่พนักงานและผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ของคนในองค์การสูงที่สุด ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมขององค์การน้อยที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้บริหารกับกลุ่มพนักงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านลักษณะส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ณรงค์ ใจเที่ยง และคณะ. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการทำงานยุค New Normal ของเทศบาลตำบลท่าวังทอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(2), 149-163.
เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ. (2565). เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ. เรียกใช้เมื่อ 11 เมษายน 2566 จาก http://www.tumbonbanduea.go.th.
ธีรพร ทองขะโชค และกรกฏ ทองขะโชค. (2566). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(4), 192-209.
สำนักงาน ป.ป.ช. (ม.ป.ป.). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ. เรียกใช้เมื่อ 4 มิถุนายน 2566 จาก https://shorturl.asia/c9Daf.
Bass, B. M. (1999). Two decades of research and development in transformational leadership. European Journal of Work and Organizational Psychology, 8(1), 9-32.
Best, J.W. (1981). Research in education. 4th Edition. Prentice Hall: Inc.
Brislin, R.W. et al. (2005). Evolving perceptions of Japanese workplace motivation: An employee-manager comparison. International Journal of Cross Cultural Management, 5(1), 87-104.
Brown, G. K. (2022). The impact of organizational policies on job satisfaction. Journal of Human Resources Management Research, 58(4), 338-356.
Chen, Y., & Li, S. (2023). Leadership and job satisfaction: A review of current practices. Leadership and Organization Development Journal, 44(1), 112-127.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Delacre, M. et al. (2017). Why psychologists should by default use Welch’s t-test instead of Student’s t-test. International Review of Social Psychology, 30(1), 92-101. doi:10.5334/irsp.82.
Elsbach, K. D., & Pratt, M. G. (2007). The physical environment in organizations. Academy of Management Annals, 1(1), 181-224.
Garcia, E., et al. (2022). Comparing job satisfaction across hierarchical levels: Insights from a multinational study. Journal of International Management, 37(2), 145-160.
Heathfield, S.M. (2020). How to foster employee satisfaction. Retrieved on May 22, 2023 from https://shorturl.asia/VspXm.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Judge, T. A. et al. (2001). The job satisfaction-job performance relationship: A qualitative and quantitative review. Psychological Bulletin, 127(3), 376-407.
Lee, H., & Kim, J. (2022). Workplace relationships and job satisfaction: An empirical study. Journal of Organizational Behavior, 43(6), 1034-1051.
Locke, E. A. (1976). The nature and causes of job satisfaction. In M. D. Dunnette (Ed.), Handbook of industrial and organizational psychology (pp. 1297-1349). Chicago, IL: Rand McNally.
Nguyen, A. D., & Nguyen, C. D. (2021). Personal characteristics and job satisfaction: An analysis of the relationship. Journal of Organizational Psychology, 39(2), 187-203.
Rousseau, D. M. (1998). Why workers still identify with organizations. Journal of Organizational Behavior, 19(3), 217-233.
Smith, A., et al. (2023). Exploring discrepancies in job satisfaction: A manager-employee perspective. Journal of Organizational Psychology, 48(3), 210-225.
Smith, J. D., & Jones, A. B. (2020). Comparing population means with a t-test instead of a z-test: When to make the switch. Journal of Statistical Methods, 7(2), 123-135.
Zhang, X., & Zhao, L. (2020). The impact of organizational environment on job satisfaction. Journal of Workplace Psychology, 36(3), 245-262.