สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

ภคพล ขันทอง
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา          2) ศึกษาระดับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก .482-.836 ค่าความเชื่อมั่น .962 และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก .247-.776 ค่าความเชื่อมั่น .936 โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กัน 4. สมการพยากรณ์สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุด 4 ตัวแปร คือ สมรรถนะการสื่อสาร ใช้ดิจิทัล การแก้ปัญหา การสร้างนวัตกรรม ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าอำนาจการพยากรณ์เท่ากับ 37.50 เขียนสมการได้ ดังนี้


            สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ


                   = 2.208 + .390(X1) + .207(X5) - .226(X3) + .078(X2)


            สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


                    = .542(X1) + .300(X5) - .256(X3) + .101(X2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศขององค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสังกัดเทศบาลนคร ขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิศรานันท์ ขันทอง. (2563). สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น:ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ภสุ เขียวสะอาด. (2562). สมรรถนะทางดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรกรมศุลกากร ต่อความท้าทายใน การพัฒนาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2564. หนองคาย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 26 ธันวาคม 2565 จาก https://otepc.go.th/images/00_YEAR2563/04_PV2/circular_document/v3-2564.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). สมรรถนะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการ ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม (ว6/2561). เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2559). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2558–2561 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อมรรัตน์ จินดา. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกํารศึกษาสำหรับสถานศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Alessandro B. (2018). Digital Skills and Competence, and Digital and Online Learning. European Training. Turin: Foundation.

Balyer et al. (2015). School principals' transformational leadership behaviours and their effects on teacher commitment. 1st International Conference on Lifelong Education and Leadership for All (pp.203-211). Olomouc: Czech Republic.

Hord. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin. TX: Southwest Educational Development Laboratory.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.