ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในชีวิตของบุคลากรทหาร กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัย 2) เพื่อศึกษาระดับความสุข 3) เพื่อศึกษาสมการปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะสิ่งที่เสริมสร้างความสุข และ 5) เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในชีวิตของบุคลากรทหาร กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ใช้วิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทหาร จำนวน 218 คน โดยคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Stepwise และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 16 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา สรุปประเด็น และพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความสุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัย โดยรวมมีอยู่ในระดับสูง ค่าเท่ากับ .901 สามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 87.40 มีค่า R2 = .874 มีค่า F = 5.332 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อความสุขของบุคลากรทหาร 4) ข้อเสนอแนะต่อปัจจัยที่เสริมสร้างความสุข คือ ควรมีการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามสายงาน ควรส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานภายในองค์การ และกัน 5) รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุข ประกอบด้วย ปัจจัยคุณภาพชีวิต ปัจจัยความสำเร็จในงาน ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยความสัมพันธ์ในองค์การ ปัจจัยความก้าวหน้าในงาน ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยสวัสดิการ ปัจจัยวินัยทหาร ปัจจัยศาสนา และปัจจัยความสมดุลในชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กรมเสมียนตรา. (2565). ทำเนียบบุคลากรกรมเสมียนตรา. กรุงเทพมหานคร: กรมเสมียนตรา สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม.
กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2561). แผนการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพมหานคร: กรมเสมียนตรา สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม.
กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2566 จาก http://www.pwa.npru.ac.th.
กองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). แผนหลัก สสส. 2551-2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
เกสินี หมื่นไธสง, สุติมา มนต์ดี, ภวิณี จันทร์แจ่มและธีราภรณ์ ลิมานนท์วราไชย. (2560). การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในความสุขของประชาชนเขตเมืองและชนบท จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36 (6), 63-76.
จตุพร ไชยราช. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ฉัฐวีณ์ ฉายสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสุขในการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชินกร น้อยคำยางและปภาดา น้อยคำยาง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนิน ใจวงศ์. (2565). ปัจจัยความสุขในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์กร กรณีศึกษา: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธารินทร์ ระศร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.