มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา

Main Article Content

กริชแก้ว แก้วพรม
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา 2. ศึกษากฎหมายที่มีผลกระทบกับการผิดสัญญาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ 3. เสนอแนวทางแก้ไขปัญหามาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จตามสัญญา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลและทบทวนเอกสาร บทความ คำอธิบาย วารสาร รายงาน วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย และจากสื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากภายในประเทศไทยและต่างประเทศ


          ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการวิเคราะห์ผลกระทบจากการสร้างทางไม่แล้วเสร็จ พบว่า มีผลกระทบหลายด้าน ดังนี้ 1) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 2) ผลกระทบทางสังคม 3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ 4) ผลกระทบต่อประชาชน 2. กฎหมายสัญญาของไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายแพ่งเยอรมัน ขณะที่กฎหมายของประเทศอังกฤษและอเมริกาได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายจารีตประเพณี โดยยึดถือหลักสุจริตใจในการทำสัญญา สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่สุจริตจะเป็นโมฆะ ผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และศาลไทยมีอำนาจพิจารณาข้อพิพาทสัญญาระหว่างประเทศที่มีข้อตกลงเลือกศาลไทย 3. แนวทางการแก้ไขและการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 1) ควรมีการประเมินผลกระทบ วางแผนแก้ไข สื่อสารกับประชาชน บังคับใช้กฎหมาย และตรวจสอบความคืบหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 2) ควรมีการเยียวยาประชาชน โดยการชดเชยทางการเงิน สนับสนุนด้านสุขภาพ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และให้การสนับสนุนทางสังคม และมีข้อเสนอแนะ คือ ควรปรับปรุงกฎหมายให้รัฐต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายเมื่อรัฐผิดสัญญา เพื่อความเป็นธรรมและนิติธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย. (2557). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย.

จเรวัต สาริชีวิน และคณะ. (2554). การศึกษาข้อพิพาทในงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ: มูลเหตุและแนวทางแกไข. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 9(1), 41-52 .

เจียมจิต สุวรรณน้อย. (2546). การศึกษาข้อพิพาทในงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐ : มูลเหตุและแนวทางแก้ไข. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). สภาผู้บริโภคจี้ 7 วันแก้ไขการก่อสร้างไม่ปลอดภัยบนถนนพระราม 2. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.thansettakij.com/news/general-news/577408.

พงษ์ศักดิ์ วิริยา. (2562). ผลกระทบต่อความคุ้มค่าในการลงทุนจากการดำเนินการล่าช้า (กรณีศึกษาโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง). ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนิดา พรมหล้า. (2564). โครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น: ปัญหากฎหมายอันเกี่ยวกับระบบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(1), 63-84.

สัญชัย เผือกโสภา. (2549). สาเหตุความล่าช้าของผู้รับเหมาก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. (2560). สรุปประเด็นข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชนจากการสนทนากลุ่มย่อย โครงการก่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายซอยรามอินทรา 39 และถนนสุขาภิบาล 5. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://shorturl.asia/JEdRi.

อภิเศก ปั้นสุวรรณ. (2559). การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนมอเตอร์เวย์สายตะวันตกภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อานนท์ ปัถพี. (2560). ผลกระทบโครงการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ตอน ชลบุรี-บ้านบึง ที่มีต่อประชาชนในเขตอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Fair Trading Act. (1973). First Published: London.

Nicolai, L. (2007). The Liability of classification societies. German: University of Hamburg.

Thai PBS. (2565). รู้จัก "ถนนพระราม 2" ถนนสายหลักสู่ภาคใต้ กับปัญหา "ซ่อม-สร้าง". สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/318027.