มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม

Main Article Content

อุมาพร กาฬแสน
สุเมธ จานประดับ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมตามมา มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่มีความผสมผสานระหว่างทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ อันเป็นความเชื่อมโยงที่มีความแน่นแฟ้นระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่อยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่ภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์เดียวกันซึ่งคือภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และเพื่อให้พื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมได้รับการคุ้มครองและอนุรักษ์อย่างเหมาะสม จึงต้องมีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายเข้ามาเป็นหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ทั้งในส่วนบทบาทของหน่วยงานของรัฐหรือในส่วนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มีความชัดเจน ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน


          จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ใช้เฉพาะเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และประชาชนในพื้นที่ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาปัญหากฎหมาย เพื่อแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเป็นบริเวณพื้นที่ทางสิ่งแวดล้อมที่มีความผสมผสานระหว่างทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เพื่อให้มีความยั่งยืนและดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติเป็นแหล่งมรดกโลก. กรุงเทพมหานคร: อี.ที.พับลิชชิ่.

ขรรค์เพชร ชายทวีป. (2552). ผู้ทรงสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โครงการจัดการปฏิบัติการทำแผนด้านการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตามแนวทางมรดกโลก. (2563). ข้อมูลและความรู้เบื้องต้นมรดกโลก และการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่มรดกโลก เอกสารประกอบงานแถลงข่าว เพื่อสนับสนุนเชียงใหม่สู่เมืองระดับโลก. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2565 จาก https://shorturl.asia/CYg39.

ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2562 จาก http://gotoknow/org/blog/mathu/334443.

ธาตรี มหันตรัตน. (2563). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก : นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยา, 12(2), 38-51.

นภาจรี จิวะนันทประวัติ. (2557). การปกครองท้องถิ่น-ประชาธิปไตยใกล้มือประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2565 จาก https://shorturl.asia/TAxmb.

วรพรรณ เชื้อสุนทรโสภณ. (2562). สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 226-239.

สมเดช สีแสง. (2553). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก www.Gotoknow.org/posts/33443.

สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2563). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับโลกใบนี้. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2565 จาก www.pttinternet.pttplc.com/greenglobe/pdf/docPTT.

สมาคมอิโคโมสไทย ICOMOS Thailand. (2554). กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม. สมาคมอิโคโมสไทย ICOMOS Thailand.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2561). อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โมโนกราฟ สตูดิโอ จำกัด .

หทัยภัทร บุญชูดวง. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาเกลือ ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารร่มพฤกษ์, 37(3), 7-17.

อนุวัฒน์ การถักและทรงยศ วีระทวีมาศ. (2558). ภูมิทัศน์วัฒนธรรม:ความหมาย พัฒนาการทางแนวคิดและทิศทางการศึกษาวิจัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 1-12.

Hartel Tibor, author, et al. (2014). The Importance of Ecosystem Services for Rural Inhabitants in a Changing Cultural Landscape in Romania. Ecology and Society, no. 2.

Katapidi, Ioanna. (2014). Does Greek Conservation Policy Effectively Protect the Cultural Landscapes? A Critical Examination of Policy's Efficiency in Traditional Greek Settlements. European Spatial Research & Policy, vol. 21, no. 2, pp. 97-113.

UNESCO. (1972). Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage. Paris: 1972: Article 1-2.

UNESCO. (2017). Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention. Paris: 2017: Annex 3.