มาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีการป้องกันและควบคุมขยะมูลฝอยโดยเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ดิเรก บวรสกุลเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอย และผลกระทบของสภาพปัญหาการจัดการมูลฝอย 2) ศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการขยะมูลฝอย โดยศึกษากรณีเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีสาเหตุจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการคัดแยกขยะ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง รวมถึงในขั้นตอนของการขนส่ง เพราะแม้ประชาชนจะคัดแยกมูลฝอยไว้ก็ตาม แต่ไม่มีการคัดแยกในขั้นตอนการขนส่ง จึงทำให้มูลฝอยกลับไปปะปนรวมกันอีก ส่วนการจัดการปลายทาง ในการเลือกพื้นที่กำจัดขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบยังไม่เหมาะสม รวมถึงข้อพิจารณาของศาลในการกำหนดค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และค่าเสียหายในอนาคต ข้อเสนอแนะ เช่น การให้สิทธิประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการขยะ โดยให้ความรู้และความตระหนักแก่ประชาชนตั้งแต่คัดแยกขยะต้นทาง ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในการกำจัดขยะ ควรเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เช่น วิธีการประเมินมูลค่าของความเสียหายของประชาชนที่ได้รับมลพิษในเรื่องสุขภาพอนามัย ความเจ็บป่วย ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว และศาลสามารถที่จะสงวนสิทธิในการแก้ไขคำพิพากษาให้เหมาะกับความเสียหายในอนาคตด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). แนวทางและข้อกำหนดเบื้องต้นการลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 30 กรกฎาคม 2566 จากwww.pcd.go.th>waste_garbage.

รุ่งนภา ทับหนองฮี และจุฑามาส ชมผา. (2564). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครทองถิ่นรักษ์โลกในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ภายในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 222-231.

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2564). คู่มือดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2543). ทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาผู้เสียหายจากปัญหามลพิษ. ดุลพาห, 43(1), 98-111.

อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2550). กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

อุดมศักดิ์ สนธิพงษ์. (2554). กฎหมายสิ่งแวดล้อมว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดทางแพ่งการชดเชยเยียวยาและการระงับข้อพิพาท. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.