ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัสที่มีต่อความสามารถในการอ่านสะกดคาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำ โดยใช้การสอนวิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการสอนอ่านสะกดคำด้วยวิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหันเทาผักกาดย่า อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนการทดลอง เป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส จำนวน 16 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง จำนวน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดภาษาไทย จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนการสอนโดยใช้วิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเรียนโดยใช้วิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส นักเรียนมีคะแนนอ่านสะกดคำภาษาไทยเฉลี่ย 10.5 คะแนน และหลังเรียน 35 คะแนน เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า นักเรียน มีทักษะการอ่านสะกดคำภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังเรียนโดยใช้การสอนวิธีโฟนิกส์ร่วมกับเทคนิคพหุสัมผัส นักเรียนมีระดับความ พึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.8 หมายความว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินดารัตน์ วรยศ และ วิเชียร ธํารงโสตถิสกุล. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุประสาทสัมผัสเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่าน สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์, 7(1), 87-100.
ชนินทร์ ทิมฤกษ์ และยุพิน ยืนยง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำ ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1. วารสาร มจร.เพชรบุรีปริทรรศน์, 2(2), 226-227.
ณัฐพล สุริยมณฑล. (2561). การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 117-123.
บันลือ พฤกษะวัน. (2533). อุปเทศการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาทแนวบูรณาการทางการสอน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด, สมนึก ภัททิยธนี, นุชานา เหลืองอังกรู, กรนุช ศรีสะอาด, สมบัติ ท้ายเรือดำ ประวัติ เอราวรรณ์ และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น: ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภัสสร ทัศนพงศ์, พจมาน ชำนาญกิจ และ อุษา ปราบหงษ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 1(11), 81-89.
รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการเรียนอ่านเขียน ของนักเรียนไทยและนักเรียนต่างด้าวและการแก้ปัญหาด้วยแบบเรียนที่พัฒนาตามแนววิธีการสอนแบบโฟนิกส์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อัยวัฒน์ ม่วงเสาร์. (2561). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ ประกอบการฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Browne, A. (1996). Developing Language and literacy 3-8. London: P. Chapman.
Mercer, A.R. (1992). Improve reading in learning disabilities. New York: Brooks.
Townsend, J. (1998). Principle of teaching : The dyslexia institude. Retrieved July 1, 2022 from www.dyslexia-inst.Org.uk.
Weaver, C. (1994). Reading Process and Practice. Portmouth, HN : Heinemann Educational books.