ความรุนแรงในจิตวิญญาณของเฮเกล : ดุลพินิจจากฐานคิดแบบเดอเลิซและชิเชค
Main Article Content
บทคัดย่อ
จิตวิญญาณของเฮเกลมีความรุนแรงเป็นองค์ประกอบ การพิจารณาความรุนแรงในข้อเสนอเรื่องจิตวิญญาณของเฮเกลสามารถกระทำได้ด้วยอาศัยฐานคิดแบบเดอเลิซและชิเชค ซึ่งระบุถึงความรุนแรงในจิตวิญญาณของเฮเกลในลักษณะที่แตกต่างกัน บทความชิ้นนี้เสนอว่าทั้งเดอเลิซและชิเชคต่างก็สังเกตเห็นถึงความรุนแรงในจิตวิญญาณของเฮเกลทั้งคู่ เพียงแต่ทั้งสองท่านมองเห็นความรุนแรงในจิตวิญญาณของเฮเกลในคุณลักษณะที่แตกต่างกันเท่านั้น ในฐานคิดแบบเดอเลิซ จิตวิญญาณของเฮเกลจะหมายถึงความสัมบูรณ์ ซึ่งกระทำควบคู่กับการปิดกั้นหรือปราบปรามความแตกต่างหลากหลาย ในทางตรงกันข้าม ฐานคิดแบบชิเชคเชื่อว่าจิตวิญญาณของเฮเกลมุ่งรื้อถอนและทำลายองค์รวม ซึ่งการทำความเข้าใจเฮเกลของชิเชคมีความโน้มเอียงไปทางการเมืองแนวมากซ์ ผสมผสานกับแนวคิดเรื่อง ‘สิ่งที่ตั้งอยู่จริง’ ของลากอง จนได้ข้อสรุปว่าจิตวิญญาณของเฮเกลคือ ‘สิ่งที่ตั้งอยู่จริง’ และจิตวิญญาณของเฮเกลที่สุดแล้วก็คือการเมืองเพื่อโค่นล้มองค์รวม
Article Details
References
2. Hegel, G.W.F. (2012). Elements of the Philosophy of Right, 17th edition, Translated by H.B. Nisbet. Cambridge: Cambridge University Press.
3. Hegel, G.W.F. (1979). Hegel’s Phenomenology of Spirit, Translated by A.V. Miller. New York: Oxford University Press.
4. Lacan, J. (2016). The Sinthome: The Seminar of Jacques Lacan Book XXIII. Edited by Jacques-Alain Miller. Cambridge and Malden Polity Press.
5. Lacan, J. (1998). Encore: The Seminar of Jacques Lacan Book XX: On Feminine Sexuality, The Limits of Love and Knowledge, 1972-1973. Translated by Bruce Fink. London and New York: W.W. Norton & Company.
6. Smith, W. (1980). ‘Friedrich Ratzel and the Origins of Lebensraum’, German Studies Review, Vol. 3 (1): pp. 51-68.
7. Weber, M. (2015). Weber’s Rationalism and Modern Society. Translated by Tony Waters and Dagmar Waters. London: Palgrave Books.
8. Žižek, S. (2017). Incontinence of the Void: Economico-Philosophical Spandrels. Cambridge and Massachusetts. The MIT Press.
9. Žižek, S. (2016). Disparities. London and New York: Bloomsbury.
10. Žižek, S. (2016) ‘Christ, Hegel, Wagner’, International Journal of Žižek Studies, https://zizekstudies.org/index.php/IJZS/article/view/38. accessed: December, 29, 2018.
11. Žižek, S. (2014). The Most Sublime Hysteric: Hegel with Lacan. London and New York: Polity.
12. Žižek, S. (2008). Violence: Six Sideways Reflections. New York: Picador Books.
13. Žižek, S. (2000). The Ticklish Subject: The Absent Centre of Political Ontology. London and New York: Verso.
14. Žižek, S. (1993). Tarrying with the Negative: Kant, Hegel, and the Critique of Ideology. Durham: Duke University Press.